รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4084
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 14/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลระดับหน่วยงาน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
ชื่อเรื่องอังกฤษ Development of Nursing Quality Assurance Activity in Department of Nursing Doungluang Hospital Mukdahan Province
ชื่อผู้วิจัยหลัก ศรีสุดา โพธิ์วรรณ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
วิภาพร วรหาญ
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2552
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การศึกษาอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีผลการประกันคุณภาพการพยาบาล ระดับหน่วยงาน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลดงหลวง ดำเนินการศึกษาโดยการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลดงหลวง จำนวน 27 คน

                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทัศนคติ และแบบสอบถามการปฏิบัติการดำเนินงานประกันพยาบาลระดับหน่วยงาน 10 ขั้นตอน ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้โดยใช้สูตรคุเตอร์-ริชาร์ดสัน-20 ( Kuder-Richardson-20 ) ได้ค่าความเที่ยง .86 หาค่าความเที่ยงของแบบวัดทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการพยาบาล โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาด (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยง .83 และ .93 ตามลำดับ

                ดำเนินการศึกษาเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาล ผู้ศึกษาสร้างแบบทดสอบความรู้ แบบวัดทัศนคติ และแบบสอบถามการปฏิบัติ เขียนโครงการและเสนอโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำทำเอกสารประกอบการอบรม 2) ขั้นปฏิบัติการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่พยาบาลวิชาชีพ และนำไปปฏิบัติในหน่วยงาน เป็นเวลา 2 เดือน 3) การตรวจสอบ และ 4) ปรับปรุงแก้ไข โดยทำการประเมินผลลัพธ์จากผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลระดับหน่วยงาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติก่อนและหลังการพัฒนา

                การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยการแจกแจงความถี่ และร้อยละ ข้อมูลด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาล นำมาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบจับคู่ (Paired t-test)

                ผลการศึกษาพบว่า

1.       สามารถพัฒนาหน่วยงาน 8 หน่วยงาน ให้มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลระดับหน่วยงานได้ครบทั้ง 10 ขั้นตอน ภายในระยะเวลา 2 เดือน

2.       สามารถพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลระดับหน่วยงาน 10 ขั้นตอนของ 8 หน่วยงานบริการพยาบาล โรงพยาบาลดงหลวง โดยใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(Plan Do Check Action)ได้

3.       หน่วยงานบริการพยาบาลทั้ง 8 หน่วยงาน มีผลงานการประกันคุณภาพการพยาบาลหน่วยงานละ 1 เรื่อง ดังนี้

3.1    หน่วยงานผู้ป่วยนอก ประกันคุณภาพการพยาบาล เรื่อง การคัดกรองผู้ป่วยผิดแผนก

3.2    หน่วยงานผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ประกันคุณภาพการพยาบาล เรื่อง การคัดกรองและการจัดระดับความรุนแรงของผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน

3.3    หน่วยงานห้องคลอด ประกันคุณภาพการพยาบาล เรื่อง การป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในรายคลอดปกติ

3.4    หน่วยงานห้องผ่าตัด ประกันคุณภาพการพยาบาล เรื่อง ความพร้อมของเครื่องมือผ่าตัด

3.5    หน่วยงานบริการฝากครรภ์ ประกันคุณภาพการพยาบาล เรื่อง การให้ข้อมูลและการปฏิบัติตามมาตรฐานการฝากครรภ์

3.6    หน่วยงานผู้ป่วยใน ประกันคุณภาพการพยาบาล เรื่อง ความคลาดเคลื่อนทางยาในการบริหารยาผู้ป่วยใน

3.7    หน่วยงานงานบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพอนามัย ประกันคุณภาพการพยาบาลเรื่อง การให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า

3.8    หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประกันคุณภาพการพยาบาลเรื่อง การป้องกันการได้รับบาดเจ็บจากเข็มทิ่มตำและของมีคมบาด

4.       การประกันคุณภาพการพยาบาลระดับหน่วยงาน โรงพยาบาลดงหลวง เป็นวิธีพัฒนาโดยใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ได้ผลคะแนนความรู้หลังการพัฒนา (̅X = 20.48) มากว่าก่อนการพัฒนา (̅X = 15.01) ทัศนคติหลังการพัฒนา (̅X = 4.02) มากกว่าก่อนการพัฒนา (̅X = 3.72 ) และการปฏิบัติหลังการพัฒนา (̅X = 3.92) มากกว่าก่อนการพัฒนา (̅X = 3.43) ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการพยาบาลระดับหน่วยงานก่อนและหลังการพัฒนา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ การมีส่วนร่วม และการลงมือปฏิบัติจริงในทุกขั้นตอนการติดตามนิเทศจากผู้บริหารทางการพยาบาล และการจัดให้มีเวทีนำเสนอผลงานคุณภาพการพยาบาล เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจเชิงบวกที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง สามารถพัฒนาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลระดับหน่วยงาน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลดงหลวงได้

 

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีผลการประกันคุณภาพการพยาบาล ระดับหน่วยงาน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลดงหลวง
 
    พิมพ์หน้านี้