รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4085
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 14/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนาการนิเทศการพยาบาล กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคอนสรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอังกฤษ Development of Nursing Supervision in Nursing Organization of Khonsawan Hospital, Chaiyaphum Province
ชื่อผู้วิจัยหลัก ศศิธร ราชวงษ์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
วิภาพร วรหาญ
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2544
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการนิเทศการพยาบาลของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคอนสรรค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหาการนิเทศการพยาบาล ขั้นตอนที่ 2 เป็นการหาแนวทางแก้ไขและขั้นตอนสุดท้ายคือการทดลองแนวทางแก้ไขที่กำหนดขั้น

                กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยพยาบาลทุกคนของกลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลคอนสรรค์ จำนวน 27 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้นิเทศ 10 คน ผู้รับการนิเทศ 17 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลจากการแสดงความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม โดยใช้กระบวนการกลุ่มโนมินอลและดำเนินกิจกรรมแทรกแซงตามแนวทางการแก้ไขปัญหาการนิเทศที่สมาชิกกลุ่มร่วมกันกำหนดเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม คือ แบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศและแบบสอบถามความพึงพอใจในงานตามการรับรู้ของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ

                วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า

1.       การนิเทศการพยาบาลของกลุ่มงานการพยาบาลไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนทั้งในด้านกิจกรรมการนิเทศและระยะเวลาทำให้การนิเทศการพยาบาลขาดประสิทธิภาพประสิทธิผล สมาชิกต้องการให้การนิเทศการพยาบาลเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการช่วยเหลือแก่บุคลากรในระดับรองลงมา ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน มีการกำหนดเป้าหมาย รูปแบบและแผนการนิเทศที่ชัดเจนร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ

2.       ปัญหาการนิเทศเกิดจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นิเทศ ปัจจัยด้านผู้รับการนิเทศและปัจจัยแวดล้อม ซึ่งปัจจัยด้านผู้นิเทศ คือ ผู้นิเทศขาดความรู้และประสบการณ์ ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ ขาดทักษะในการสื่อสาร ขาดทักษะในการนิเทศ ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ สาเหตุจากปัจจัยด้านผู้รับการนิเทศ คือ ทัศนคติไม่ดีต่อการนิเทศ ขาดขวัญกำลังใจ ขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ไม่ปรับปรุงตนเมื่อผู้นิเทศแนะนำ และสาเหตุจากปัจจัยแวดล้อม คือ ขาดการกำหนดเป้าหมาย ขาดคู่มือการนิเทศ ขาดการจัดทำแผนการนิเทศและขาดการจัดทำแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับการนิเทศการพยาบาล

3.       แนวทางการแก้ไขที่เห็นควรดำเนินการ ได้แก่ จัดอบรมการนิเทศการพยาบาล ประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการนิเทศ ประชุมเพื่อจัดทำแผนการนิเทศและจัดทำคู่มือการนิเทศ

4.       หลังดำเนินกิจกรรมแทรกแซงตามแนวทางแก้ไขปัญหา พบว่า

1.1    ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศ ของผู้นิเทศ ทั้งโดยรวมและรายด้านสูงขึ้น โดยกิจกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ การเยี่ยมตรวจ

1.2    ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศตามการรับรู้ของผู้รับการนิเทศ ทั้งโดยรวมและรายด้านสูงขึ้น โดยกิจกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ การเยี่ยมตรวจ

1.3    ค่าเฉลี่ยความพึ่งพอใจในงานของผู้นิเทศทั้งโดยรวมและราบด้านสูงขึ้น โดยพบว่าองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ด้านความรับผิดชอบในงาน

1.4    ค่าเฉลี่ยความพึ่งพอใจในงานของผู้รับการนิเทศ ทั้งโดยรวมและรายด้านสูงขึ้น โดยพบว่าองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ด้านความสำเร็จในงาน

1.5    ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับ การปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศ และความพึงพอใจในงาน ของผู้นิเทศสูงกว่าผู้รับการนิเทศ ทั้งก่อนและหลังดำเนินกิจกรรมแทรงแซง

 

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการนิเทศการพยาบาลของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคอนสรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
 
    พิมพ์หน้านี้