การศึกษาครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ
โรงพยาบาลลำปาง ทั้งโดยรวมและรายด้าน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล
ลักษณะงาน และประสบการณ์การทำงาน
กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลลำปาง
กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลลำปาง จำนวน 184 คน
ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างใช้หลักความน่าจะเป็น (probability sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน
คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของ
มาวเดย์ สเทียร์ส และพอตเตอร์ (Mowday
,Steers & Porter, 1979)
ซึ่งสร้างขึ้นโดย เมทินี
จิตรอ่อนน้อม (2542) มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ
0.89 ส่วนที่ 3
แบบสอบถามปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ
ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นตามแนวคิดของ สเทียร์ส (Steers, 1977)
โดยมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .83 และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ
.88 สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่
การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า
1.
ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ
โรงพยาบาลลำปางโดยรวมอยู่ในระดับสูง
( = 3.91, SD = 0.69)และในรายด้าน แต่ละด้านคือ
ด้านความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าและยอมรับเป้าหมายค่านิยมขององค์การ อยู่ในระดับสูง ( = 3.98 , SD = 0.64)
ด้านความเต็มใจและทุ่มเทความเพียรพยายามอย่างมากเพื่อประโยชน์ขององค์การ
อยู่ในระดับสูง ( = 3.89, SD = 0.71)
และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาไว้ซึ่งการเป็นสมาชิกขององค์การอยู่ในระดับสูง
( = 3.89, SD = 0.71)
2. อายุ สถานภาพสมรส
และระยะเวลาในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลลำปาง
มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.01 แต่เพศและการศึกษา
ไม่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ
3. ปัจจัยด้านลักษณะงาน
และปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงาน
มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.01
ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า
ผู้บริหารการพยาบาลควรคำนึงถึงปัจจัยด้านลักษณะงาน
และปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงาน
เพื่อเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันของบุคลากรพยาบาลที่มีต่อองค์การให้อยู่ในระดับสูงต่อไป
|