การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชาของนักศึกษาพยาบาล
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และศึกษาปัจจัยที่ร่วมพยากรณ์ความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชา
กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2537 จำนวน
251 คน กลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านปัจจัย
และข้อมูลความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชาซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ
0.91 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลด้านปัจจัย และข้อมูลความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชา โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า
1.
ปัจจัยส่วนบุคคล เฉพาะทัศนคติต่อวิชาชีพ
มีความสัมพันธ์กับความต้องการเปลี่ยนสาขาอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.001 ( r = -.38 ) สำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชา
2.
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางบ้าน ได้แก่ แรงสนับสนุนของครอบครัว รายได้ของนักศึกษาจาก
ครอบครัว
มีความสัมพันธ์กับความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชา
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ( r = -.26 และ
.13) ตามลำดับ
3.
ปัจจัยด้านการเรียนการสอน ได้แก่ เนื้อหาวิชา
กิจกรรมการเรียนการสอน คุณสมบัติอาจารย์ การ
ประเมินผล สภาพแวดล้อมด้านกายภาพ
มีความสัมพันธ์กับความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 , .001 ,
.001, .01 และ .05 (
r = -.22 , -.28, -.19 และ
-.14) ตามลำดับ
4.
ปัจจัยด้านอี่น ๆ ได้แก่ กิจกรรมเสริมหลักสูตร
กฎระเบียบ มีความสัมพันธ์กับความต้องการเปลี่ยน
สาขาวิชา
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ละ .01 ( r = -.24 และ -.19 ) ตามลำดับ
5.
ปัจจัยที่พยากรณ์ความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชา
ได้แก่ ทัศนคติต่อวิชาชีพ แรงสนับสนุนของ
ครอบครัว
และกิจกรรมการเรียนการสอน
ปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมพยากรณ์ความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชาได้ร้อยละ 19
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเขียนสมการในรูปคะแนนดิบ ดังนี้
ความต้องการเปลี่ยนสาขาวิชา = 6.72 - .63 (ทัศนคติต่อวิชาชี)
-.42 (แรงสนับสนุนของครอบครัว) -.27 (กิจกรรมการเรียนการสอน)
|