การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลต่าง ๆ
9 แผนก ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
มีระยะเวลาการทำงานอย่างน้อยที่สุด 1 ปี สุ่มตัวอย่างแบบเป็นขั้นตอนแบ่งสัดส่วนตามแผนกต่าง
ๆ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 270
คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วน
คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการทำงานและคุณภาพชีวิตการทำงาน
ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+ คำนวณหาจำนวน
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า
1.
ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ
ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่อยู่ใน
ระดับปานกลาง
มีค่าเท่ากับ 3.15
2.
ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่
ตำแหน่งหน้าที่และค่านิยมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานใน
ระดับปานกลาง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( r = .32 และ .49
ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่าอายุและรายได้ (เงินเดือน)
มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 ( r = .19 และ .21 ตามลำดับ)
ส่วนสถานภาพสมรสและรายได้พิเศษไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงาน
3.
ปัจจัยการทำงาน ได้แก่
การรับรู้ต่อความสามารถเชิงวิชาชีพของตน การรับรู้ต่อระบบบริหารการ
บริหารจัดการและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 ( r = .41 ,
.66 , .67 และ .77 ตามลำดับ)
4.
ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานได้แก่ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การบริหารจัดการ
ตำแหน่งหน้าที่และค่านิยม
ปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานได้ร้อยละ 67.00
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเขียนสมการในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้
คุณภาพชีวิตการทำงาน = .12 + .45 (สภาพแวดล้อมในการทำงาน)
+
.21
(การบริหารจัดการ) +.23 (ตำแหน่งหน้าที่) + .13 (ค่านิยม)
|