พยาบาลวิชาชีพมักเกิดความเหนื่อยหน่ายในงานได้ง่าย
จึงจำเป็นที่ผู้บริหารทางการพยาบาลควรให้ความสำคัญ หาวิธีการป้องกันมิให้มีความเหนื่อยหน่ายในงานเกิดขึ้นกับพยาบาลวิชาชีพ
การศึกษาวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขวัญกำลังใจในงาน
ความเหนื่อยหน่ายในงานและหาปัจจัยทำนายความเหนื่อยหน่ายในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มการพยาบาลจาก 9
แผนกผู้ป่วยจำนวน 440 คน โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล
แบบสอบถารมปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขวัญกำลังใจในงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจากการทบทวนวรรณกรรม
และแบบสอบถามความเหนื่อยหน่ายในงานตามแนวคิดของแมสเลชและแจ็คสัน (Maslach &Jackson, 1981)
ซึ่งผ่านการแปลย้อนกลับโดยสิระยา
สัมมาวาจ (2532) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ด้วยสถิติบรรยายได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการถดถอยแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า
1.
ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ
ระยะเวลาการทำงานของกลุ่มตัวอย่างในโรงพยาบาลมหาราช
นครศรีธรรมราชมีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายในงานอย่างมีนัยสำคัญทาง
2.
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขวัญกำลังใจในงานของกลุ่มตัวอย่างในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
ด้านความเป็นมิตรและความร่วมมือของเพื่อนร่วมงาน
ด้านการบริหารจัดการของผู้บริหาร และด้านความมั่นคงและปลอดภัยในงานอยู่ในระดับสูง (
= 3.78 ; SD = 0.49 , = 3.79 ; SD = 0.55
และ = 3.50 ; SD = 0.44
ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยด้านปริมาณงานที่ต้องการ เงินเดือนและผลประโยชน์ที่นอกเหนือจากเงินเดือน
การให้ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ โอกาสในการเจริญเติบโตและความก้าวหน้า
อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.22 ; SD = 0.41
, = 3.17 ; SD = 0.42
, = 3.34 ; SD = 0.60 และ = 3.46 ; SD = 0.59 ตามลำดับ)
3.
ความเหนื่อยหน่ายในงานของกลุ่มตัวอย่างในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
โดยรวมอยู่ใน
ระดับปานกลาง
( = 58.43 ; SD = 14.00)
เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์
และด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง( = 18.33 ; SD =
10.41 และ =36.62 ; SD = 7.88
ตามลำดับ)
ส่วนด้านการลดความเป็นบุคคลในผู้อื่นอยู่ในระดับต่ำ ( = 3.46 ; SD = 0.59
ตามลำดับ)
4.
ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ
มีอำนาจในการทำนายปัจจัยทำนายความเหนื่อยหน่ายในงานของกลุ่ม
ตัวอย่างโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
มากที่สุดร้อยละ 7 เมื่อเพิ่มปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขวัญกำลังใจในงานด้านความมั่นคงและปลอดภัยในงาน
ทำให้มีอำนาจในการทำนายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขวัญกำลังใจในงานเพื่อป้องกันมิให้มีความเหนื่อยหน่ายในงานเกิดขึ้นกับพยาบาลวิชาชีพ
อันจะส่งผลดีต่อคุณภาพและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการพยาบาลโดยรวม
|