การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลนักศึกษาพยาบาลของอาจารย์พยาบาลในการสอนทางคลินิก
และทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4
ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตภาคเหนือ ปีการศึกษา 2539 จำนวน 283 คน
สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย
แบบบันทึกส่วนบุคคล
แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลนักศึกษาพยาบาลของอาจารย์พยาบาลในการสอนทางคลินิก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95
และแบบวัดทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันค่าความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า
1.
พฤติกรรมการดูแลนักศึกษาพยาบาลของอาจารย์พยาบาลในการสอนทางคลินิก
ตามการรับรู้ของ
นักศึกษาพยาบาลโดยรวม
อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.65 SD = 0.48
) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความเห็นอกเห็นใจ ความรู้ความสามารถ ความไว้วางใจ การมีจิตสำนึกทางจริยธรรม ความยึดมั่นผูกพัน
อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน ( = 3.14 SD = 0.60 , = 3.81
SD = 0.48 , = 3.58 SD = 0.57 , = 3.95 SD = 0.53 และ = 3.78 SD = 0.57 ตามลำดับ)
และนักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นปี
มีการรับรู้พฤติกรรมการดูแลของอาจารย์พยาบาลในการสอนทางคลินิกโดยรวมและรายด้าน
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2
มีระดับการรับรู้พฤติกรรมการดูแลนักศึกษาพยาบาลของอาจารย์พยาบาลในการสอนทางคลินิก
สูงกว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 ตามลำดับ
2.
ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลโดยรวม
อยู่ในระดับดี ( = 3.91 SD = 0.32 )
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเชื่อ
และด้านพฤติกรรม อยู่ในระดับดี ( = 4.46 SD = 0.35 และ = 3.74 SD = 0.50 ตามลำดับ) ส่วนด้านความรู้สึกอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.52 SD = 0.36) นักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นปีมีทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล
ด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มีระดับทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล ด้านดังกล่าว
ดีกว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 3 ตามลำดับ
3.
พฤติกรรมการดูแลนักศึกษาพยาบาลของอาจารย์พยาบาลในการสอนทางคลินิก
ตามการรับรู้ของ
นักศึกษาพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวก
ในระดับปานกลาง ( r
= .40 p < .001) กับทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล
และการรับรู้พฤติกรรมการดูแลนักศึกษาพยาบาลของอาจารย์พยาบาลในการสอนทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่
2 และ 3 มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับปานกลาง (
r = .44 และ
.40 ตามลำดับ p < .001) กับทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล
ส่วนนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน
|