รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 3215
ผู้กรอกข้อมูล บุญพิชชา จิตต์ภักดี
วันที่กรอกข้อมูล 24/9/2553
ชื่อเรื่องไทย คุณภาพชีวิตการทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลที่คัดสรรแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ชื่อเรื่องอังกฤษ NURSE’S QUALITY OF WORK LIFE A SELECTED HOSPITAL UNDER THE OFFICE OF HIGHER EDUCATION COMMISSION : A QUALITATIVE STUDY
ชื่อผู้วิจัยหลัก จิราภรณ์ จิตต์โภสา
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สุวดี สกุลคู
จุฬาลักษณ์ บารมี
สังกัด มหาวิทยาลัยบูรพา
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยบูรพา 
   
ปี 2550
บทคัดย่อ  

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและบรรยายความหมายของคุณภาพชีวิตการทำงาน สิ่งที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน และแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ  โรงพยาบาลที่คัดสรรแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพระดับประจำการ จำนวน  9 คน มีอายุอยู่ในช่วง 23 – 27 ปี มีประสบการณ์ในวิชาชีพพยาบาล 1- 5 ปี ปฏิบัติหน้าที่แผนกละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 9 แผนก สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ผู้ให้ข้อมูลกล่าวถึง 5 คน สังเกตสถานที่ทำงานด้านกายภาพและลักษณะงานของแต่ละแผนก 9 แผนกและการศึกษาเอกสารที่ถูกกล่าวอ้างถึงซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพชิวิตการทำงานที่ผู้ให้ข้อมูลกล่าวอ้างถึง

            ผลการศึกษาพบว่า

1.      ความหมายของคุณภาพชีวิตการทำงาน  แบ่งเป็น 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ คุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี

หมายถึง มีความสุขในการทำงาน และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน ประเด็นที่สอง คือ คุณภาพชีวิตการทำงานที่ไม่ดี หมายถึง ไม่มีความสุขในการทำงาน

2.      สิ่งที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานแบ่งเป็น 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ สิ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตการทำงานดี

ประกอบด้วย การมีผู้ร่วมงานที่ดี การมีผู้ร่วมงานที่ดี การได้รับสิ่งตอบแทนอย่างเหมาะสม มีประสบการณ์ที่เพียงพอในการปฏิบัติงาน และมีความชอบในงานที่ทำ ประเด็นที่สองคือ สิ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตการทำงานไม่ดีประกอบด้วย ได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลน้อย สิ่งแวดล้อมในที่ทำงานไม่ปลอดภัย ความเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงาน ความรู้สึกด้านลบต่อผู้รับบริการ สัมพันธภาพที่ไม่ดีกับหัวหน้าหน่วยงาน ลักษณะการทำงานที่ไม่ชัดเจน อุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่เพียงพอ และความรู้สึกด้านลบต่อหน่วยงานอื่นในโรงพยาบาล

3.      ความสำคัญของคุณภาพชีวิตการทำงานแบ่งเป็น 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ คุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี

ทำให้พยาบาลวิชาชีพมีความสุขในการทำงาน มีความรู้สึกอยากทำงาน มีการตั้งเป้าหมายและต้องกาความก้าวหน้าในงาน ประเด็นที่สองคือ คุณภาพชีวิตการทำงานที่ไม่ดี ทำให้พยาบาลวิชาชีพเกิดความรู้สึกด้านลบต่อการปฏิบัติงาน และคุณภาพงานไม่ดี

4.      แนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงาน แบ่งเป็น 6 ประเด็น ได้แก่ การเพิ่มสิ่งตอบแทนเพิ่มความ

ปลอดภัยในการปฏิบัติ จัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ ความเชื่อมั่นต่อผู้บริหาร เพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน และจัดหาอุปกรณ์ให้เพียงพอ

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาและบรรยายความหมายของคุณภาพชีวิตการทำงาน สิ่งที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน และแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ  โรงพยาบาลที่คัดสรรแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 
    พิมพ์หน้านี้