การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ การบริหารคุณภาพโดยรวมและความสามารถในการปฏิบัติงาน เปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพกับโรงพยาบาลที่กำลังดำเนินการพัฒนาและรับรองคุณภาพศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ และการบริหารคุณภาพโดยรวม กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ และศึกษาความสามารถในการพยากรณ์ของตัวแปรต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำการ จำนวน 286 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคกลาง เขต 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ 2) แบบสอบถามการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ 3) แบบสอบถามการบริหารคุณภาพโดยรวม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94, .92 ,.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t – test สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ( Pearson’s Correlation Coefficient) และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ( Stepwise Multilple Regreession Analysis) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ การบริหารคุณภาพโดยรวม และความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการโดยรวมอยู่ในระดับสูง
2. ความสามารถในการปฏิบัติงานโดยรวมของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลสูงกว่าในโรงพยาบาลที่กำลังดำเนินการพัฒนาและรับรองคุณภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ และการบริหารคุณภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( r = .375 และ .351 ) ตามลำดับ
4. การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจและประเภทโรงพยาบาลเป็นตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุขภาคกลาง เขต 5 ได้ร้อยละ 15.9 ( R 2 = .159 ) ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Ý ความสามารถในการปฏิบัติงาน = 2.55 + .35 (การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ )
+ .11 (ประเภทโรงพยาบาล)
Źความสามารถในการปฏิบัติงาน = .37Z (การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ) + .13Z (ประเภทโรงพยาบาล)
|