การศึกษาเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลต่อผู้ป่วย
เป็นขั้นตอนแรกในการคำนวณหาภาระงานและอัตรากำลังอย่างแท้จริงการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพห้องตรวจอายุรกรรม งานผู้ป่วยนอก
โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
ประชากรในการศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องตรวจอายุรกรรมจำนวน
4 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจำนวน 400 ราย ที่มารับบริการห้องตรวจอายุรกรรมงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในช่วงเวลาการเก็บข้อมูลคือระหว่างวันที่ 13 – 24
พฤศจิกายน 2549 ในเวลาราชการ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาโดยใช้แนวคิดของกองการพยาบาล (2545)
ประกอบด้วยคู่มือสังเกตลักษณะการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง คู่มือการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
กิจกรรมส่วนบุคคล แบบบันทึกเวลาที่ใช้การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง
แบบบันทึกเวลาที่ใช้การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
กิจกรรมส่วนบุคคล คู่มือสังเกตปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.90
คู่มือปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานและกิจกรรมส่วนบุคคล
ไดค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.96
และค่าความเที่ยงระหว่างผู้สังเกตในการจำแนกกิจกรรมการพยาบาลได้เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1.
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพห้องตรวจอายุรกรรม
งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ต่อผู้ป่วย 1 ราย เฉลี่ยเท่ากับ 36.46 นาที
2.
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงต่อผู้ป่วย
1 ราย ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 31.70 นาที
3.
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อมต่อผู้ป่วย
1 ราย ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 2.19 นาที
4.
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่อผู้ป่วย
1 ราย ใช้เวลาลี่ยเท่ากับ 1.70 นาที
5.
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมส่วนบุคคลต่อผู้ป่วย 1
ราย ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 0.87 นาที
ผลการศึกษาครั้งนี้คาดว่า
สามารถใช้เป็นข้อมูลฐานของโรงพยาบาล สำหรับใช้ในการบริหารการจัด
อัตรากำลัง
การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลและเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
|