งานการพยาบาลประกอบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่กิจกรรมที่ปฏิบัติโดยตรงต่อผู้ป่วย
กิจกรรมที่ไม่ได้ปฏิบัติโดยตรงต่อผู้ป่วย
และกิจกรรมที่ต้องร่วมมือประสานงานกับบุคลากรอื่นในทีมสุขภา ดังนั้นในแต่ละเวรหรือแต่ละวัน
บุคลากรพยาบาลจึงมีการใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาลห้องผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลแพร่
ซึ่งประกอบด้วยการใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทางตรง กิจกรรมการพยาบาลทางอ้อม กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
และเวลาพักส่วนตัวในแต่ละเวรและใน 24 ชั่วโมง
และปริมาณเวลาของการพยาบาลทางตรง
ที่ผู้ป่วยแต่ละประเภทในห้องผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลแพร่ ได้รับจากบุคลากรพยาบาลในแต่ละเวรและใน 24
ชั่วโมง
ประชากรในการศึกษาได้แก่บุคลากรพยาบาลทุกคนที่ปฏิบัติงานและผู้ป่วยทุกคนที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม
ในระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม ถึง 5 สิงหาคม
2545 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาล
และเวลาของกิจกรรมการพยาบาลทางตรงที่ผู้ป่วยได้รับ
ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .89
และค่าความเที่ยงระหว่างผู้สังเกตได้เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. บุคลากรพยาบาลใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทางตรง
เป็นเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 670.20 นาทีใน 24 ชั่วโมง
โดยใช้เวลาในการปฏิบัติในเวรเช้าเท่ากับ
249.68 นาที เวรบ่ายเท่ากับ 228.52
นาทีและเวรดึกเท่ากับ 192.00 นาที
2.
บุคลากรพยาบาลใช้เวลาในกรปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทางอ้อม เป็นเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 428.00 นาที ใน 24
ชั่วโมง โดยใช้เวลาในการปฏิบัติในเวรเช้าเท่ากับ 130.02 นาที เวรบ่ายเท่ากับ
153.46 นาที และเวรดึกเท่ากับ 144.52 นาที
3.
บุคลากรพยาบาลใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
เป็นเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 217.77 นาทีใน 24 ชั่วโมง
โดยใช้เวลาในการปฏิบัติในเวรเช้าเท่ากับ 80.22 นาที เวรบ่ายเท่ากับ 60.23 นาที
และเวรดึกเท่ากับ 77.32 นาที
4.
บุคลากรพยาบาลใช้เวลาในการพักส่วนตัวเป็นเวลาเฉลี่ยเท่ากับ 186.47 นาทีใน
24 ชั่วโมง โดยใช้เวลาพักในเวรเช้าเท่ากับ 64.03 นาที เวรบ่ายเท่ากับ 54.07 นาที
และเวรดึกเท่ากับ 68.37 นาที
5. ผู้ป่วยประเภทวิกฤตและประเภท 1
ได้รับการพยาบาลทางตรงจากบุคลากรพยาบาลเป็นปริมาณเวลา เท่ากับ 392.83 นาที และ
277.38 นาทีใน 24 ชั่วโมง ตามลำดับ
ผลการศึกษาครั้งนี้
ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงระบบการมอบหมายงาน
และการจัดสรรบุคลากรพยาบาลในการให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานต่อไป
|