เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ
แสดงให้เห็นถึงปริมาณภาระงานในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลต่อผู้ป่วยทั้งกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง กิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม
และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการคำนวณหาอัตรากำลังที่แท้จริง
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล
โดยตรงเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานและกิจกรรมส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพในแต่ละวัน
ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นพยาบาลวิชาชีพทุกคนที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานผู้ป่วยนอก
จำนวน 4 คน
และกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการในช่วงวันที่ 2 – 15
ตุลาคม 2549 ในเวลาราชการ จำนวน 456 ราย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาผู้ศึกษาใช้แนวคิดกองการพยาบาล (กองการพยาบาล,2545)
ประกอบด้วย
คู่มือสังเกตลักษณะการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงคู่มือการบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานและกิจกรรมส่วนบุคคล
คู่มือสังเกตลักษณะการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง
และแบบบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง
ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.96 คู่มือ
การบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
และกิจกรรมส่วนบุคคล และแบบบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานและกิจกรรมส่วนบุคคล
ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.91
ค่าความเที่ยงระหว่างผู้สังเกตในการจำแนกกิจกรรมและการสังเกตขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพเท่ากับ
0.82 และ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1.
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง
กิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน และกิจกรรมส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพต่อวัน
ใช้เวลาเท่ากับ 41.57 นาที
2.
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงของพยาบาลวิชาชีพ ใช้เวลาเท่ากับ
31.72 นาที
3.
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อมของพยาบาลวิชาชีพ ใช้เวลาเท่ากับ
1.57 นาที
4. เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของพยาบาลวิชาชีพ
ใช้เวลาเท่ากับ 6.31 นาที
5.
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ ใช้เวลาเท่ากับ 1.97 นาที
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของโรงพยาบาล
สำหรับใช้ในการบริหารจัดการด้านอัตรากำลัง
การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลและเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
|