การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบบรรยากาศองค์การตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือพยาบาลประจำการ
กลุ่มการพยาบาล ที่ปฏิบัติงานอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล จำนวน 310 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามบรรยากาศองค์การตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดของ Halpin
& Croft (1963) ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5
ท่าน หาความเที่ยงของแบบสอบถามบรรยากาศองค์การ
โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ 0.95 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ส่งแบบสอบถามถึงกลุ่มตัวอย่างโดยตรงจำนวน
310 ฉบับ ได้รับกลับคืนและมีความสมบูรณ์ 270 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนนมาตรฐานที แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่
Halpin & Croft กำหนด
ผลการศึกษาพบว่าบรรยากาศองค์การตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ มีแนวโน้มเป็นแบบแจ่มใส จากการศึกษาพบว่าในด้านพฤติกรรมของผู้ร่วมงาน
มิติที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือมิติขวัญ ( = 3.09 , SD = 0.45) รองลงมาคือมิติมิตรสัมพันธ์ ( = 3.04 , SD = 0.43) มิติอุปสรรค ( = 1.92 , SD = 0.46)
และมิติขาดความสามัคคี ( = 1.67 , SD = 0.42) ตามลำดับ ในด้านพฤติกรรมของผู้บริหาร
มิติที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือมิติกรุณาปราณี ( = 2.88 , SD = 0.61) รองลงมามิติเป็นแบบอย่าง ( = 2.84 , SD = 0.63) มิติมุ่งผลงาน ( = 1.90 , SD = 0.67) และมิติห่างเหิน ( = 1.76 , SD = 0.49) ตามลำดับ
การปรับปรุงและพัฒนาบรรยากาศองค์การนั้นควรปฏิบัติทั้งองค์การเพื่อให้เกิดบรรยากาศองค์การแบบแจ่มใสทั้งองค์การ
ซึ่งจะต้องอาศัยการผลักดันจากผู้บริหารทุกระดับร่วมกับความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดบรรยากาศองค์การเชิงบวกและดำรงอยู่ตลอดไป
|