การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive
Research) แบบการศึกษาความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ (Predictive
Correlation Studies) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสถานการณ์
กับการปฏิบัติของพยาบาลกุมารเวชกรรมเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลศูนย์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2)
ศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติของพยาบาลกุมารเวชกรรมเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ
พยาบาลกุมารเวชกรรมทั้งพยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเทคนิคระดับประจำการ ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อย
1 ปี ในหอผู้ป่วยเด็กอายุ 7 – 14 ปี ทั้งหอผู้ป่วยสามัญ พิเศษ และวิกฤต
โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง 6 แห่ง ได้แก่
โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โรงพยาบาลสุรินทร์
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และ โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 179 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง การรับรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
ปัจจัยด้านสถานการณ์ ได้แก่ นโยบาย และ การสนับสนุนจากผู้บริหาร
และการปฏิบัติของพยาบาลกุมารเวชกรรมเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
ผู้วิจัยนำเครื่องมือไปตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน
ทดลองใช้เครื่องมือกับพยาบาลกุมารเวชกรรม
ทั้งพยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเทคนิคในโรงพยาบาลสระบุรี จำนวน 30 คน หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามการรับรู้
แบบสอบถามปัจจัยด้านสถานการณ์ ได้แก่ นโยบาย และการสนับสนุนจากผู้บริหาร
และแบบสอบถามการปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม 0.70, 0.73 และ 0.77 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามด้วยตัวเองและทางไปรษณีย์
ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมา 173 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.65
วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
และสถิติถดถอยพหุแบบขั้นตอน(Stepwise Multiple Regression)
ผลการวิจัยพบว่า
1.
พยาบาลกุมารเวชกรรมร้อยละ 90.2
มีการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็กอยู่ในระดับดี
ร้อยละ 71.1
มีการรับรู้นโยบายเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก อยู่ในระดับดี ร้อยละ 85 มีการรับรู้เกี่ยวกับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
อยู่ในระดับดี และร้อยละ 71.7 มีการปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
อยู่ในระดับดี
2.
ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การรับรู้
และจำนวนบุตร มีความสัมพันธ์ทางบวก ใน ระดับปานกลาง
และระดับต่ำ ( r = 0.471 และ 0.285 ตามลำดับ)
กับการปฏิบัติของพยาบาลกุมารเวชกรรมเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนระดับการศึกษา
และการได้รับการอบรมหรือประชุมวิชาการเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของพยาบาลกุมารเวชกรรมเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
3.
ปัจจัยด้านสถานการณ์ได้แก่ นโยบาย
และกาสนับสนุนจากผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ทางบวก
ในระดับปานกลางและระดับต่ำ(r = 0.306,
0.257 ดามลำดับ)
กับการปฏิบัติของพยาบาลกุมารเวชกรรมเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01
4.
การรับรู้ นโยบาย และจำนวนบุตร
สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติของพยาบาลกุมารเวช-
กรรมเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก ได้ร้อยละ 33.0 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
และการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดต่อการปฏิบัติของพยาบาลกุมารเวชกรรมเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยเด็ก
(Beta = 0.414) รองลงมาได้แก่ นโยบาย (Beta = 0.234) และจำนวนบุตร (Beta = 0.221)
|