รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1420
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 6/10/2553
ชื่อเรื่องไทย วิเคราะห์ระบบบริการพยาบาลในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอังกฤษ Analysis of Nursing Service System in Primary Health Care Unit, Phitsanuloke Province
ชื่อผู้วิจัยหลัก จรรจา สันตยากร
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ประภา ลิ้มประสูติ
นงนุช โอบะ
อัจฉรา ปุราคม
สังกัด ไม่ระบุ
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
อื่นๆศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดพิษณุโลก
   
ปี 2553
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบบริการพยาบาลในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดพิษณุโลก  โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP  Model)  ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยเอกสาร  หลักฐานการปฏิบัติงา  พยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนจำนวน 21 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน 17 คน และผู้ใช้บริการจำนวน 265 คน  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเอกสารการปฏิบัติงาน แบบสอบถามสำหรับพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับกิจกรรมที่ปฏิบัติ  แบบสอบถามเจ้าหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจกรรมที่พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติ  และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อบริการของพยาบาลวิชาชีพในศูนย์สุขภาพชุมชน โดยค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือทั้ง 4 ชุด มีค่าเท่ากับ 0.87, 0.85, 0.82 และ 0.95 ตามลำดับ  ผลการศึกษาพบว่า 1) การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพจากการตรวจสอบหลักฐานเอกสารพบว่า กิจกรรมที่มีการปฏิบัติในระดับมาก คือ กิจกรรมด้านการบริหารและการสำรวจชุมชนและครอบครัว กิจกรรมที่มีการปฏิบัติระดับปานกลาง คือ กิจกรรมของระบบบริการพยาบาล 9 กิจกรรมส่วนกิจกรรมที่มีการปฏิบัติระดับน้อย คือการเยี่ยมบ้าน 2) การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพจากการสอบถามพยาบาลวิชาชีพเอง พบว่า กิจกรรมที่มีการปฏิบัติระดับมากที่สุด คือการลงทะเบียน การบริการหลัก การให้คำปรึกษา และการให้บริการก่อนกลับบ้าน กิจกรรมที่มีการปฏิบัติระดับปานกลาง คือกิจกรรมของระบบบริการพยาบาลอีก 8 กิจกรรม 3)การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพจากการสอบถามเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนในศูนย์สุขภาพชุมชน พบว่า กิจกรรมที่มีการปฏิบัติในระดับมาก คือ การสำรวจชุมชนและครอบครัว การลงทะเบียนคัดกรอง  การบริการหลัก การให้คำปรึกษา การให้บริการก่อนกลับบ้าน  และการบริหารส่วนกิจกรรมที่มีการปฏิบัติระดับปานกลาง คือ กิจกรรมของระบบบริการพยาบาลอีก 6 กิจกรรม  4) ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อระบบบริการพยาบาล พบว่า มีความพึงพอใจระดับมากต่อการดูแลแบบองค์รวม การดูแลแบบต่อเนื่อง การดูแลแบบผสมผสาน  และการเข้าถึงบริการ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจระดับปานกลางต่อการมีมนุษยสัมพันธ์ การให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน และการมีส่วนร่วมของประชาชน

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อวิเคราะห์ระบบบริการพยาบาลในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดพิษณุโลก  โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP  Model)
 
    พิมพ์หน้านี้