รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1424
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 6/10/2553
ชื่อเรื่องไทย ความเครียดจากบทบาทหน้าที่ การปรับแก้และปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพของพยาบาล
ชื่อเรื่องอังกฤษ ROLE STRESS/STRAIN, COPING AND FACTORS PREDICTING HEALTH STATUS OF NURSES
ชื่อผู้วิจัยหลัก รองศาสาตราจารย์ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ
นงค์คราญ วิเศษกุล
Professor Dr.Vickie Lambert
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน รายงานวิจัย
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2553
บทคัดย่อ

วามเครียดจากบทบาทหน้าที่ของพยาบาล จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อพยาบาล องค์กรพยาบาล และส่วนรวม  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดจากการทำงานและวิธีการปรับแก้ความเครียดของพยาบาล และภาวะสุขภาพ  และศึกษาตัวทำนายภาวะสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ  กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลประจำจังหวัดในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 147 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  แบบสอบถามความเครียดจากบทบาทหน้าที่  แบบสอบถามเกี่ยวกับวิธีการปรับแก้ความเครียด  และแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ  ซึ่งแบบสอบถามดังกล่าวได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดย สายพิน เกษมกิจวัฒนา (2544) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  หาค่าความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของความเครียด  วิธีการปรับแก้ และภาวะสุขภาพ  และหาตัวทำนายภาวะสุขภาพโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุและการวิเคราะห์การจำแนกพหุ

                ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า

                1.  ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดจากบทบาทหน้าที่ของพยาบาลเรียงจากมากไปน้อย คือภาระงานที่มากเกินไปมากที่สุด  ความขัดแย้งกับแพทย์  ความกังวลเกี่ยวกับการรักษาของแพทย์รองลงมาตามลำดับ  และความขัดแย้งกับพยาบาลพบน้อยที่สุด

                2.  วิธีการปรับแก้ความเครียดของพยาบาลที่ใช้เรียงจากมากไปน้อย คือ การวางแผนการแก้ปัญหา  การยอมรับในความรับผิดชอบ  การแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม  การควบคุมตนเอง  การปรับการคิดในทางบวก การถอยห่าง  การเผชิญหน้า และการหลบหนี – หลีกเลี่ยง  ตามลำดับ

                3.  ภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่  มีความจำกัดในการทำกิจกรรมเล็กน้อยหรือแทบไม่มีเลย สุขภาพโดยทั่ว ๆ ไปอยู่ในเกณฑ์ดี มีสุขภาพไม่แตกต่างเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและมีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างดี

                4.  ปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะสุขภาพในด้านความเจ็บปวดของร่างกาย ได้แก่ ความเครียดโดยรวม จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ไม่ใช่ญาติสายตรง  และวุฒิการศึกษาสูงสุด

                5.  ปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะสุขภาพในด้านสุขภาพเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ ความเครียดโดยรวม  ความเครียดในด้านการตายของผู้ป่วย  วิธีการปรับแก้ความเครียดในด้านการวางแผนการแก้ปัญหา  รายได้ของครอบครัว  วุฒิการศึกษาเมื่อเริ่มเข้าทำงานในวิชาชีพพยาบาล

                ผลการวิจัยจะนำไปสู่การหาแนวทางในการป้องกันไม่ให้พยาบาลเกิดความเครียดที่สูงเกินไปการใช้วิธีการปรับแก้ที่ได้ผลดี  และแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพแก่พยาบาล

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเครียดจากบทบาทหน้าที่พยาบาล วิธีการปรับแก้ความเครียด  และปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพของพยาบาลที่ทำงานในสถานบริการของรัฐในระดับทุติยภูมิหรือโรงพยาบาลประจำจังหวัด ในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
    พิมพ์หน้านี้