รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1432
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 6/10/2553
ชื่อเรื่องไทย ความคิดเห็นของพยาบาลต่อโครงการจัดเตรียมครูพี่เลี้ยงสำหรับนักศึกษาพยาบาล
ชื่อเรื่องอังกฤษ Opinions of Nurses on Preceptorship Preparation Program for Nursing Students
ชื่อผู้วิจัยหลัก อรอนงค์ วิชัยคำ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน รายงานวิจัย
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2553
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลต่อโครงการจัดเตรียมครูพี่เลี้ยงสำหรับนักศึกษาพยาบาล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่ประยุกต์วิธีการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ได้รับการฝึกอบรมโครงการครูพี่เลี้ยงโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก

 ผู้ได้รับการฝึกอบรมโครงการครูพี่เลี้ยงจำนวน 23 คน โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการให้ความรู้และประสบการณ์ทางด้านการสอนในคลินิกที่มีประสิทธิภาพ  หลักการเรียนรู้ด้วยตนเอง  การสื่อสารและการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรการนิเทศแผนการเรียนรู้ร่วมกัน  บทบาทของครูพี่เลี้ยงในการประเมินการเรียนรู้  การดูแลตนเองของครูพี่เลี้ยง  และการพัฒนาวิชาชีพแก่ผู้เข่ารับการฝึกอบรม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการให้ข้อคิดเห็นว่า  การเข้าร่วมโครงการช่วยเสริมสร้างศักยภาพความสามารถความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น  ทั้งช่วยเสริมสร้างให้มีความรับผิดชอบมากขึ้นและพัฒนาเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพพยาบาล ส่วนคุณลักษณะของครูพี่เลี้ยงควรเป็นผู้มีความรู้ มีความซื่อสัตย์ มีความเสียสละ มีความตรงต่อเวลา มีภาวะผู้นำ มีความมั่นใจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  มีการประสานงานที่ดี  มีเมตตาธรรม มีความเอื้ออาทร และมีความรักในวิชาชีพ เป็นตัวอย่างที่ดี มีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา  ส่วนการพบปัญหา  อุปสรรคของการเข้าร่วมในโครงการจะเป็นปัญหาด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการ กล่าวคือ  ไม่มีการฝึกปฏิบัติ ห้องเรียนกว้างเกินไป  เอกสารไม่พร้อม  และไม่ได้เน้นเรื่องการประเมินผลเท่าที่ควร  ส่วนปัญหา อุปสรรคของตัวครูพี่เลี้ยงเองคือภาระงานมากเกินไป  จำนวนนักศึกษาที่ฝึกมีมาก  อาจารย์จากสถาบันการศึกษามีเวลาในการนิเทศงานนักศึกษาน้อย  และเกณฑ์การประเมินผลแตกต่างกัน ผลจากการวิจัยช่วยให้ผู้บริหารองค์กรและผู้ที่จะจัดโครงการจัดเตรียมครูพี่เลี้ยงมีแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงโครงการครูพี่เลี้ยงเพื่อเสริมศักยภาพ ความรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในหน่วยงานต่อไป

 

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลต่อโครงการจัดเตรียมครูพี่เลี้ยงสำหรับนักศึกษาพยาบาลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงโครงการครูพี่เลี้ยงได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
 
    พิมพ์หน้านี้