รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1435
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 6/10/2553
ชื่อเรื่องไทย เวลาและกิจกรรมการพยาบาลทางตรงและทางอ้อม ของบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยและห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสุโขทัย
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก พรทิพย์ วงษ์เกลียวเวียน์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ไม่พบข้อมูล
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2547
บทคัดย่อ  

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเวลาและกิจกรรมการพยาบาลทางตรงและทางอ้อม ของบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยและห้องผู้ป่วยหนัก  โรงพยาบาลสุโขทัย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยและห้องผู้ป่วยหนัก  โรงพยาบาลสุโขทัย ระหว่างวันที่ 9 – 29 สิงหาคม 2547 ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย  ตามระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 995 ราย เป็นผู้ป่วยใน 911 ราย  ผู้ป่วยหนัก 84 ราย กลุ่มที่ 2 ได้แก่ บุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยและงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสุโขทัย  ทั้งหมดที่ขึ้นปฏิบัติงานตามตารางวันและเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 875 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย คู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยใน คู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยหนัก  แบบสังเกตเวลาและกิจกรรมการพยาบาลทางตรงที่ผู้ป่วยแต่ละประเภทต้องการและได้รับ  และแบบบันทึกเวลาและกิจกรรมการพยาบาลทางอ้อมของบุคลากรทางการพยาบาลทุกประเภท  ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือ  ก่อนนำไปใช้จริง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft  Excel และ SPSS for Windows

                ผลการวิจัยพบว่า

1.       ปริมาณเวลาที่ผู้ป่วยในประเภทที่ 1 , 2, 3 และ 4 ได้รับการพยาบาลทางตรงจากบุคลากรทางการ

พยาบาล เฉลี่ย 7.77 , 4.86, 2.93 และ 1.68  ชั่วโมงต่อวัน ตามลำดับ

2.       ปริมาณเวลาที่ผู้ป่วยหนักประเภทที่ 1 , 2 , 3 และ 4 ได้รับการพยาบาลทางตรงจากบุคลากรทางการ

พยาบาลเฉลี่ย 21.60 , 12.40 , 8.18 และ 5.33 ชั่วโมงต่อวัน ตามลำดับ

3.       ปริมาณเวลาที่บุคลากรทางการพยาบาลทุกประเภทปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทางอ้อม ในเวรเช้า ,

เวรบ่าย และเวรดึก เฉลี่ย  292.28, 257.40 และ 219.12 นาที ตามลำดับ

4.       ผลการคำนวณชั่วโมงความต้องการการพยาบาลเฉลี่ยต่อวันผู้ป่วยนอนของผู้ป่วยใน ประเภทที่ 1,2,3

และ 4 เท่ากับ 10.62 , 7.70 , 5.78 และ 4.53 ตามลำดับ

                5.  ผลการคำนวณชั่วโมงความต้องการพยาบาลพยาบาลเฉลี่ยต่อวันผู้ป่วยนอนของผู้ป่วยหนัก  ประเภทที่ 1,2,3 และ 4 เท่ากับ 24.44, 15.24, 11.02 และ 8.17 ตามลำดับ

                ผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารการพยาบาลได้นำไปกำหนดเป็นพันธกิจของกลุ่มการพยาบาล และจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ นำไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปี  ที่สามารถปฏิบัติได้จริง  รวมทั้งผู้บริหารโรงพยาบาล สามารถนำไปเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายด้านการบริหารอัตรากำลังของบุคลากรทางการพยาบาล ให้ตอบสนองต่อภารกิจของโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาเวลาและกิจกรรมการพยาบาลทางตรงและทางอ้อม ของบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยและห้องผู้ป่วยหนัก  โรงพยาบาลสุโขทัย
 
    พิมพ์หน้านี้