การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา
(Descriptive Study)
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มาฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสุโขทัย ต่อการเป็นแหล่งฝึก กลุ่มประชากร ได้แก่ นักศึกษาทุกคนทุกหลักสูตร ทุกสถาบัน ที่มาฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสุโขทัย
ในปีงบประมาณ 2550 ทุกคน รวมทั้งหมด 180 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นเอง มีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบรายละเอียดและพิจารณาเนื้อหาของข้อความ
หาความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ
0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.30 อายุเฉลี่ย 24.46 ปี
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.35
สถาบันที่ส่งมาฝึกมากที่สุด คือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนีอุตรดิตถ์
และเป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูง (4 ปี) ร้อยละ 61.10
ฝึกที่แผนกกุมารเวชกรรมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.10 นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.66 , SD = .29) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า
มีความพึงพอใจในด้านอาจารย์พี่เลี้ยงมากที่สุด ( = 2.86 , SD = .23) รองลงมาได้แก่
ด้านอาคารสถานที่ของโรงพยาบาล ( = 2.84 , SD = .26) ด้านที่พักของนักศึกษา ( = 2.77 , SD = .29) ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ( = 2.75, SD = ..36) ตามลำดับซึ่งอยู่ในระดับมาก
และด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจน้อยที่สุด
คือ ด้านสารสนเทศ ( = 2.21, SD = .24) อยู่ในระดับปานกลาง
จากผลการวิจัยนำมาปรับปรุงและพัฒนาในระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล
เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น และค้นคว้าความรู้
และพัฒนาให้โรงพยาบาลสุโขทัยเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
|