ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเป็นเป้าหมายสำคัญของสถานบริการสุขภาพที่เป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์ของการบริการ การศึกษาเชิงพรรณนา
ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการบริการที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โรงพยาบาลสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงระหว่างวันที่
16 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2551 จำนวน 200 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกาเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของสำนักการพยาบาล
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แบ่งเป็น 3
ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้บริการ ส่วนที่ 2
ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพการบริการพยาบาล ส่วนที่ 3
ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อการบริการ
ข้อมูลวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมี
ความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 87.52
และมีความพึงพอใจรายด้านในระดับมาก 5 ด้านดังนี้ กิริยามารยาทของพยาบาล ร้อยละ 86
การแต่งกายของพยาบาลมีคะแนนร้อยละ 84 ความพึงพอใจของท่านต่อบริการภาพรวมร้อยละ
82 ความสนใจและเต็มใจ
ของพยาบาลในการช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับท่าน ร้อยละ 82
ความตั้งใจของพยาบาลที่จะให้บริการท่านร้อยละ 80 และ
มีความพึงพอใจรายด้านในระดับปานกลาง อีก 14 ด้าน ร้อยละ 72 – 78
ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพการบริการของหน่วยงาน
และนำไปเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพบริการของงานห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสุโขทัยอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริม
ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการให้อยู่ในระดับมากทุกด้าน
|