รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1439
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 6/10/2553
ชื่อเรื่องไทย ความพึงพอใจในงานของบุคลากรทางการพยาบาลในสายนิเทศ
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก สมบูรณ์ จิตรดำรงศิลป์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ไม่พบข้อมูล
สังกัด มหาวิทยาลัยนเรศวร
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร 
   
ปี 2551
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive  Study)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในงานของบุคลากรทางการพยาบาลในสายนิเทศ  กลุ่มตัวอย่างได้แก่  พยาบาลที่ปฏิบัติงานในสายนิเทศ รวม 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม  จำนวน 16 คน หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม จำนวน 10 คน หอผู้ป่วยพิเศษพระราชพฤฒาจารย์ จำนวน 8 คน และหอผู้ป่วยจักษุ จำนวน 6 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบวัดความพึงพอใจในงานที่พัฒนาขึ้นโดยสำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2551 แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป และส่วนที่ 2 แบบวัดความพึงพอใจในงานซึ่งประกอบด้วยข้อคำถามความพึงพอใจต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล 16 ข้อ และความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิต 13 ข้อ รวม 29 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

                ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงทั้งหมด  เป็นพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 87.5 พยาบาลเทคนิคร้อยละ 12.5  ดำรงตำแหน่งระดับ 7 ร้อยละ 42.5 ระดับ 6 ร้อยละ 17.5  และระดับ 5 ร้อยละ  2.5  อายุเฉลี่ย 39.5 ปี (SD 8.25)  ระยะเวลาที่ทำงานในโรงพยาบาลเฉลี่ย 15.83 ปี (SD 8.99)  ความพึงพอใจต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล  และความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรพยาบาลในสายนิเทศ  มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 3.19 และ 3.28 ตามลำดับ)  เมื่อจำแนกตามหน่วยงาน พบว่าความพึงพอใจต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลหอผู้ป่วยพิเศษพระราชฯ  มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด  รองลงมาได้แก่  หอผู้ป่วยจักษุ  กุมารเวชกรรมและ สูติ-นรีเวชกรรม (คะแนนเฉลี่ย 3.55, 3.25, 3.08 และ 3.05 ตามลำดับ)  ซึ่งทุกหน่วยงานอยู่ในระดับปานกลาง  ส่วนความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิต พบว่า หอผู้ป่วยพิเศษพระราชฯ  คะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่  หอผู้ป่วยจักษุ สูติ-นรีเวชกรรม  และกุมารเวชกรรม (คะแนนเฉลี่ย 3.55, 3.43, 3.20 และ 3.15 ตามลำดับ) ซึ่งทุกหน่วยงานอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน

                ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ได้นำเสนอต่อผู้บริหารทั้งระดับความพึงพอใจในภาพรวมและความพึงพอใจรายข้อ  เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงการบริหารงานและเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานของบุคลากรพยาบาลต่อไป

 

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความพึงพอใจในงานของบุคลากรทางการพยาบาลในสายนิเทศ
 
    พิมพ์หน้านี้