การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุประสิทธิผลองค์การของวิทยาลัยพยาบาล
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ
ผู้อำนวยการ 30 คน และ อาจารย์วิทยาลัยพยาบาล 511 คน จาก 30
วิทยาลัยพยาบาลที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกสภาพการบริหารวิทยาลัยพยาบาล
และ 2) แบบสอบถามข้อมูลเชิงประจักษ์ มี 3
ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การและประสิทธิผลองค์การของวิทยาลัยพยาบาล
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
หาค่าความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามตอนที่ 2 และ 3 มีค่าเท่ากับ .96 และ .93
ตามลำดับ
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2548 – กุมภาพันธ์
2549 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติวิจัยเชิงพรรณนา
และวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุประสิทธิผลองค์การ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การมี 4
ตัวแปร ได้แก่
นโยบายการบริหารและการปฏิบัติ
โครงสร้างองค์การ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมภายนอก 2) ตัวบ่งชี้ประสิทธิผลองค์การมี 4 ตัวแปร คือ
ผลลัพธ์เฉพาะบุคคล ได้แก่ ความพึงพอใจ
ผลการปฏิบัติงานและความผูกพัน
การบรรลุเป้าหมาย
การปฏิบัติงานมีผลสัมฤทธิ์สูง
และผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพึงพอใจ
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุประสิทธิผลองค์การของวิทยาลัยพยาบาลแสดงให้เห็นว่า
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบอิทธิพลย้อนกลับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
โดยตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุสามารถทำนายประสิทธิผลองค์การได้ ร้อยละ 75.5
ตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุประสิทธิผลองค์การทั้ง
4 ด้าน มีค่าสัมประสิทธิ์องค์ประกอบเรียงตามลำดับ
ดังนี้ ด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ
1) แผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยพยาบาล 2)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาล
3)ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย
และวัตถุประสงค์ 4)
นโยบายของวิทยาลัยพยาบาล ด้านโครงสร้างองค์การ
1) คุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน
2)บรรยากาศองค์การ 3)
วัฒนธรรมองค์การ ด้านเทคโนโลยี 1)วิธีการปฏิบัติงา 2)เทคโนโลยีที่วิทยาลัยพยาบาลใช้ด้านสภาพแวดล้อมภายนอก 1) การปรับตัวของผู้ปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
สังคม การเมือง และเทคโนโลยี 2)
การปรับตัวของวิทยาลัยพยาบาล
|