รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1445
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 6/10/2553
ชื่อเรื่องไทย รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมสำหรับ ผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2
ชื่อเรื่องอังกฤษ A Mode of Participatory Leadership Development for Administrative Nurses of The General Hospitals in Region 2
ชื่อผู้วิจัยหลัก ภัคญาณี ชัยชนะดี
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ไม่พบข้อมูล
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2553
บทคัดย่อ  

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

                การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะด้านภาวะผู้นำ  ด้านการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม  ความต้องการพัฒนาด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2 และสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2

 

วิธีดำเนินการวิจัย

                ประชากรเป็นผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2 ผู้วิจัยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมี 2 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 แบบสอบถามการวิจัยสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาล โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีความไว้ใจได้ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่   ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  หลังจากได้ข้อมูลแล้ว  ผู้วิจัยนำข้อมูลมาสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2 ที่เหมาะสมส่งให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา  ชุดที่ 2 เป็นแบบบันทึกแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับลักษณะภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม  และขั้นตอนในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2 เพื่อให้ได้รูปแบบการการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลของ โรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2 ที่เหมาะสม  และมีประสิทธิภาพ

 

 

 

 

 

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

                คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2 ส่วนใหญ่ มีคุณลักษณะดังนี้  ผู้นำเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในบางกิจกรรม  แต่ผู้นำยังเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นสุดท้าย  การบริหารใช้วิธีการหารือ  ผลตอบแทนจะถูกนำมาใช้เพื่อเป็นสิ่งจูงใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นำแบบระบบปรึกษาหารือ (Consultation) ของ Rensis  Likert (1967)  ระดับภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารทางการพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฎว่า ด้านที่มีความจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด คือ ด้านปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำ  อยู่ในระดับปานกลาง  รองลงมา  คือ ด้านบุคลิกภาพของภาวะผู้นำอยู่ในระดับเล็กน้อย  และที่มีความจำเป็นในการพัฒนาต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน อยู่ในระดับเล็กน้อย  สำหรับความต้องการของผู้บริหารทางการพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2 ในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฎว่า  ความต้องการสูงสุด คือ ด้านความรู้  อยู่ในระดับมาก  รองลงมา คือ ด้านทักษะ  อยู่ในระดับมาก  และที่มีความต้องการต่ำสุด คือ ด้านการเจตคติ  อยู่ในระดับมาก

                ส่วนรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2 ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขึ้น และปรับปรุงแก้ไขตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้น คือ 1) การเตรียมการ (Phase  I- Preparation)  2) การประเมินก่อนดำเนินการ (Phase  II – Assessment)  3)การพัฒนา (Phase III – Treatment)  4) การปฏิบัติ (Phase IV-Practice)  5) การประเมินหลังการดำเนินการ (Phase V-Evaluation)  และ 6) การวิเคราะห์การดำเนินงาน  (Phase VI-Feedback)

 

URL
วัตถุประสงค์

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะด้านภาวะผู้นำ  ด้านการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม  ความต้องการพัฒนาด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2 และสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในเขต 2

 
    พิมพ์หน้านี้