รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1447
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 6/10/2553
ชื่อเรื่องไทย ความรู้และการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับนโยบายสุขภาพแห่งชาติ
ชื่อเรื่องอังกฤษ Knowledge and Involvement of Professional Nurses in University Hospitals Regarding the National health Policy
ชื่อผู้วิจัยหลัก บุญพิชชา จิตต์ภักดี
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน รายงานวิจัย
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2553
บทคัดย่อ  

นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพส่งผลกระทบต่อวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การปฏิบัติพยาบาล รวมถึงการให้บริการด้านสุขภาพ  พยาบาลวิชาชีพควรจะมีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสุขภาพ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสุขภาพแห่งชาติของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย  กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 378 คน  ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างมีสัดส่วน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความรู้และการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับกระบวนการนโยบายสุขภาพแห่งชาติที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .86 และ .94 ตามลำดับ ทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธี K-R 20 และการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .81  และ .90 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

                ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 63.42) มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการนโยบายสุขภาพแห่งชาติโดยรวมอยู่ในระดับสูง  โดยพยาบาลวิชาชีพร้อยละ 93.65  มีความรู้เกี่ยวกับการนำเอานโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับสูงมาก ร้อยละ 50.53 มีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำนโยบายอยู่ในระดับสูง และร้อยละ 27.51  มีความรู้เกี่ยวกับการปรับนโยบายอยู่ในระดับสูง พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80.42) ไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ โดยพยาบาลวิชาชีพร้อยละ 83.33  ไม่มีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบาย ร้อยละ 75.13  ไม่มีส่วนร่วมในด้านการนำนโยบายสุขภาพไปปฏิบัติ  และร้อยละ 70.10 ไม่มีส่วนร่วมในด้านการปรับเปลี่ยนนโยบายสุขภาพ

                ผลการศึกษาครั้งนี้ผู้บริหารการพยาบาลสามารถนำไปพัฒนาศักยภาพของตนเองและพยาบาลวิชาชีพในองค์การให้มีความตระหนักถึงความสำคัญ ความรู้ และความสามารถในการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ  โดยเฉพาะ แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความรู้และการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสุขภาพแห่งชาติของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
 
    พิมพ์หน้านี้