รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1452
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 8/10/2553
ชื่อเรื่องไทย ลักษณะที่มีผลต่อระยะเวลานอนในห้องพักฟื้นของผู้ป่วยผ่าตัดภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วไป
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก วราภรณ์ เทพวีระพงศ์ ป.พส.
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ปราณี ลิ้นฤาษี ส.บ.
สังกัด โรงพยาบาลศูนย์ โปรดระบุ โรงพยาบาลลำพูน
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน รายงานวิจัย
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
อื่นๆโรงพยาบาลลำพูน
   
ปี 2547
บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลในห้องพักฟื้นหลังผ่าตัดภายใต้การระงับความรู้สึก ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป เพราะการผ่าตัดและการระงับความรู้สึกทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และอาจทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลในห้องพักฟื้นนานขึ้น

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะที่มีผลต่อระยะเวลานอนในห้องพักฟื้นหลังการผ่าตัดภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วไป

รูปแบบการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนา

สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลลำพูน

วิธีการศึกษา : ศึกษาจากบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึกผู้ป่วย elective case ที่ได้รับการผ่าตัดภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2547 ถึง 10 เมษายน 2547 และได้รับการดูแลในห้องพักฟื้นระหว่าง 8.30-14.00 น. รวบรวมลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วย สภาพผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด และระหว่างที่อยู่ในห้องพักฟื้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาแสดงค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ทดสอบความแตกต่างด้วย Wilcoxon rank-sum test และ Kruskal-Wallis test

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยผ่าตัดภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วไปที่ได้รับการดูแลในห้องพักฟื้น 130 ราย มีลักษณะที่เพิ่มระยะเวลานอนในห้องพักฟื้น ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น ผ่าตัดหลังและช่องท้อง มีโรคประจำตัวที่ควบคุมไม่ได้ ความดันโลหิตสูง ระงับความรู้สึกแบบ balanced ได้รับ morphine ได้รับยาแก้ฤทธิ์ ความดันโลหิตผิดปกติระหว่างผ่าตัด ระยะเวลาการระงับความรู้สึกที่นานขึ้น มีอาการปวด อาการคลื่นไส้อาเจียน และความดันโลหิตผิดปกติขณะอยู่ในห้องพักฟื้น

สรุป : พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น ควรให้การดูแลผู้ป่วยที่มีลักษณะดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากผู้ป่วยที่ต้องนอนในห้องพักฟื้นนาน เป็นผู้ป่วยที่อาจมีปัญหาและภาวะแทรกซ้อนจากโรคและการผ่าตัดได้ง่ายกว่าผู้ป่วยทั่วไป

URL
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาลักษณะที่มีผลต่อระยะเวลานอนในห้องพักฟื้นหลังการผ่าตัดภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วไป

 
    พิมพ์หน้านี้