รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1453
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 8/10/2553
ชื่อเรื่องไทย ผลการรักษาผู้ป่วยคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลลำพูน
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก ศรัณยา ธรรมกุล กศ.ม.
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สุพิมล ขอผล วท.ม.
สังกัด โรงพยาบาลศูนย์ โปรดระบุ โรงพยาบาลลำพูน
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน รายงานวิจัย
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
อื่นๆโรงพยาบาลำพูน
   
ปี 2547
บทคัดย่อ

ความเป็นมา : วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย อุบัติการและความชุกของวัณโรคเพิ่มขึ้น มีการกลับมาระบาดอีกระลอกหนึ่ง (re-emerging) วัณโรคเป็น 1 ใน 9 โรคติดต่อที่เป็นปัญหาต้องเร่งรัด โดยมีการขยายงาน DOTS ให้ครอบคลุม ใช้กลยุทธ์ DOTS ในระบบการรักษาผู้ป่วยวัณโรคเพื่อให้อัตรารักษาหายดีขึ้น ลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค และลดอัตราการเกิดวัณโรคดื้อยา

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการวางแผนจำหน่าย และผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยกลยุทธ์ DOTS

รูปแบบการศึกษา : การศึกษาแบบติดตาม

สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลลำพูน

วิธีการศึกษา : ศึกษาผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนการรักษาของโรงพยาบาลลำพูนจำนวน 90 ราย จัดผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการวางแผนจำหน่าย คือ ผู้ป่วยปีปัจจุบันที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้กลยุทธ์ DOTS 46 ราย และผู้ป่วยในปีก่อนที่ไม่ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้กลยุทธ์ DOTS 44 ราย ติดตามประเมินผลการรักษาจากแบบบันทึกผู้ป่วย วิเคราะห์เปรียบเทียบกลุ่มด้วย exact probability test และวิเคราะห์ลักษณะที่เพิ่มโอกาสให้การรักษาประสบผลสำเร็จด้วย odds ratio และช่วงความเชื่อมั่น 95%

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้กลยุทธ์ DOTS และไม่ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้กลยุทธ์ DOTS มีลักษณะทั่วไปและสูตรยาที่ใช้ในการรักษาไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้กลยุทธ์ DOTS มีผลการรักษาหายร้อยละ 97.8 ตายร้อยละ 2.2 และไม่มีผู้ที่ขาดการรักษา เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้กลยุทธ์ DOTS ซึ่งมีผลการรักษาหายร้อยละ 61.4 ตายร้อยละ 4.6 และขาดการรักษาร้อยละ 34.1 (p < 0.001) ลักษณะที่เพิ่มโอกาสให้การรักษาประสบผลสำเร็จ ได้แก่ การได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยใช้กลยุทธ์ DOTS (p < 0.001) ได้รับการรักษาระยะเข้มข้นตั้งแต่ 8 สัปดาห์ขึ้นไป (p = 0.003) และได้รับการรักษาระยะต่อเนื่องตั้งแต่ 16 สัปดาห์ขึ้นไป (p = 0.009)

สรุป : การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคโดยใช้กลยุทธ์ DOTS ทำให้อัตรารักษาหายเพิ่มขึ้น อัตราตายลดลง และไม่มีผู้ป่วยขาดการรักษา กลยุทธ์ DOTS จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบการรักษาผู้ป่วยวัณโรค บุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของกลยุทธ์ DOTS เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยวัณโรคประสบผลสำเร็จได้

URL
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการวางแผนจำหน่าย และผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ได้รับการวางแผนจำหน่ายโดยกลยุทธ์ DOTS

 
    พิมพ์หน้านี้