รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1454
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 8/10/2553
ชื่อเรื่องไทย สาเหตุและภาระความสูญเสียจากการงดและเลื่อนผ่าตัดโรงพยาบาลลำพูน
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก อุบลรัตน์ เวียงแก้ว ศศ.ม.
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ธนาวดี ภู่พวง สศ.บ.
ชไมพร ทวิชศรี วท.ม.
ชยันตร์ธร ปทุมานนท์ D.Sc.
สังกัด โรงพยาบาลศูนย์ โปรดระบุ โรงพยาบาลลำพูน
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน รายงานวิจัย
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
อื่นๆโรงพยาบาลลำพูน
   
ปี 2547
บทคัดย่อ  

ความเป็นมา : การเลื่อนผ่าตัดเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน รวมทั้งตัวผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยและโรงพยาบาล เพิ่มภาระงานให้เจ้าหน้าที่โดยไม่จำเป็น การศึกษาสาเหตุที่ต้องงดและเลื่อนผ่าตัดในโรงพยาบาลอาจช่วยลดความสูญเสียที่ไม่จำเป็นลงได้ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสาเหตุของการงดและเลื่อนผ่าตัด และความสูญเสียที่โรงพยาบาลต้องรับภาระ รูปแบบการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนา สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลลำพูน วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในที่ถูกงดหรือเลื่อนผ่าตัดทุกรายระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 พฤษภาคม 2547 รวบรวมลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วย สาเหตุการงดหรือเลื่อนผ่าตัด ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นในส่วนของโรงพยาบาลและผู้ป่วย และระยะเวลาครองเตียงที่เพิ่มขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา : ในช่วงเวลาที่ศึกษามีผู้ป่วยที่งดและเลื่อนผ่าตัด 78 ราย หรือร้อยละ 3.1 ของผู้ป่วยที่นัดมารับการผ่าตัด เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุ 60 ปีขึ้นไป อยู่ต่างอำเภอและใช้สิทธิบัตรสุขภาพนอกเขต ไม่พบการเลื่อนผ่าตัดในผู้ป่วยใช้สิทธิบัตรประกันสังคม ผู้ป่วยที่ถูกงดหรือเลื่อนผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป (ร้อยละ 37.2) การเลื่อนผ่าตัดที่มีสาเหตุจากผู้ป่วยที่พบมากที่สุดคือ ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อน (ร้อยละ 21.8) การงดหรือเลื่อนผ่าตัดที่มีสาเหตุจากหอผู้ป่วยที่พบมากที่สุด คือการประสานงานหรือการสื่อสารล้มเหลว (ร้อยละ 3.9) และผู้ป่วยมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติแต่ไม่ได้รายงานให้แพทย์ทราบล่วงหน้า (ร้อยละ 1.3) การงดหรือเลื่อนผ่าตัดที่มีสาเหตุจากห้องผ่าตัดมีเพียง 1 รายที่เกิดจากเครื่องมือผ่าตัดทดสอบไม่ผ่านการปราศจากเชื้อ การเลื่อนผ่าตัดที่มีสาเหตุจากแพทย์เจ้าของไข้ส่วนใหญ่เกิดจากการนัดผ่าตัดมากเกินไปจนทำไม่ทัน (ร้อยละ 15.4) ผู้ป่วยที่งดผ่าตัด 25 ราย มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นเฉลี่ย 559.4 บาท/ราย รวมเป็นเงิน 13,985 บาท ทำให้การครองเตียงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยรายละ 3.2 วัน รวม 80 วัน ผู้ป่วยที่เลื่อนผ่าตัด 48 ราย มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นเฉลี่ย 325 บาท/ราย รวมเป็นเงิน 15,600 บาท ทำให้การครองเตียงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยรายละ 2.1 วัน รวม 101.4 วัน สรุป : สาเหตุของการเลื่อนผ่าตัดที่พบมากได้แก่การนัดผ่าตัดที่มากจนทำไม่ทัน ทำให้โรงพยาบาลต้องรับภาระที่เกิดขึ้นทั้งในด้านค่ารักษาพยาบาลและระยะเวลาการครองเตียงที่เพิ่มขึ้น

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุของการงดและเลื่อนผ่าตัด และความสูญเสียที่โรงพยาบาลต้องรับภาระ
 
    พิมพ์หน้านี้