รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1456
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 12/10/2553
ชื่อเรื่องไทย ผลการปรับสภาพแวดล้อมในห้องพักฟื้นต่อการลดระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยผ่าตัด
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก ดวงกมล ขาวสอาด ป.พส.
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
กาญจนา จันทร์อินทร์ ป.พส.
ชยันตร์ธร ปทุมานนท์ D.Sc.
ชไมพร ทวิชศรี วท.ม.
สังกัด โรงพยาบาลศูนย์ โปรดระบุ โรงพยาบาลลำพูน
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน รายงานวิจัย
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
อื่นๆโรงพยาบาลลำพูน
   
ปี 2548
บทคัดย่อ  

ความเป็นมา: ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดเป็นปัญหาของผู้ป่วยในห้องพักฟื้น มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข มีผลการศึกษาพบว่า เสียงดนตรี การงดใช้เสียงดัง และการพูดคุยกันเพียงเบาๆ ของพยาบาลในห้องพักฟื้น ช่วยลดความเจ็บปวดได้และเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการปรับสภาพแวดล้อมในห้องพักฟื้นต่อการลดระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยผ่าตัด

รูปแบบการศึกษา: การศึกษากึ่งทดลองทางคลินิก

สถานที่ศึกษา: ห้องพักฟื้น โรงพยาบาลลำพูน

วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องแผนกศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมนรีเวช และศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ที่ได้รับการดมยาสลบและเข้าพักในห้องพักฟื้น ตั้งแต่ 1 มีนาคม ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 จำนวน 60 ราย ผู้ป่วย 30 รายแรกเข้าพักฟื้นในห้องที่ไม่ได้ปรับสภาพแวดล้อม อีก 30 รายต่อมาให้เข้าพักฟื้นในห้องที่ปรับสภาพแวดล้อมใหม่ คือปิดประตูทางเข้าออกทั้ง 3 ด้าน งดใช้เสียงหรือลดเสียงรบกวนลงให้น้อยที่สุด เปิดเพลงเบาๆ ปรับอุณหภูมิห้องให้อยู่ระหว่าง 23-24 องศาเซลเซียส รวบรวมลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วย การผ่าตัด ประเมินระดับความเจ็บปวด 30 นาทีแรก การได้รับยาแก้ปวด ประเมินระดับความเจ็บปวดก่อนออกจากห้องพักฟื้น และประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ chi-squared test และ Wilcoxon’s rank-sum test

ผลการศึกษา: ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ชนิดของการผ่าตัด ระยะเวลาที่ดมยาสลบไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่ได้รับการปรับสภาพแวดล้อมใช้มอร์ฟีนมากกว่า (p = 0.038) ระดับความเจ็บปวดประเมินเมื่อ 30 นาทีแรก จำนวนครั้งที่ได้รับยาระงับปวด ระดับความเจ็บปวดก่อนออกจากห้องพักฟื้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่ากลุ่มที่ได้รับการปรับสภาพแวดล้อม มีระดับความเจ็บปวดน้อยกว่าและได้รับยาระงับปวดน้อยกว่า ส่วนความพึงพอใจอยู่ในระดับสูลทั้ง 2 กลุ่มและไม่แตกต่างกัน

สรุป: การปรับสภาพแวดล้อมในห้องพักฟื้นมีแนวโน้มว่าลดความเจ็บปวดได้ ผู้ป่วยต้องการยาระงับปวดน้อยลง ควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้น

URL
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลการปรับสภาพแวดล้อมในห้องพักฟื้นต่อการลดระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยผ่าตัด

 
    พิมพ์หน้านี้