รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1458
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 12/10/2553
ชื่อเรื่องไทย การใช้ Medication Sheet เพื่อลด Administration Error
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก ดลภัส ธรรมิรัตนเกษม พย.บ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ไม่พบข้อมูล
สังกัด โรงพยาบาลศูนย์ โปรดระบุ โรงพยาบาลลำพูน
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน รายงานวิจัย
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
อื่นๆโรงพยาบาลลำพูน
   
ปี 2548
บทคัดย่อ

   การศึกษาความคลาดเคลื่อนในการให้ยาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 แห่ง ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2548 รวบรวมข้อมูลการให้ยาผู้ป่วยทุกรายจากแบบบันทึกการให้ยา FR-HOS-022 ของโรงพยาบาล (medication sheet) บันทึกลงในแบบรายงานความคลาดเคลื่อนในการให้ยา วิเคราะห์ข้อมูลแสดงเป็นจำนวนและร้อยละ พบว่าความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นมากที่สุดในเวรเช้า เป็นยากินร้อยละ 65.6 ยาฉีดร้อยละ 34.4 ลักษณะความคลาดเคลื่อนได้แก่ ไม่ลงบันทึกใน medication sheet ไม่ลงนามกำกับการให้ยา บันทึกผิดรายการ ไม่บันทึกการให้ยาต่อ ไม่เขียนหยุดการให้ยา สาเหตุของความคลาดเคลื่อนได้แก่ ระบุการให้ยาผิด ส่งงานหรือฝากงานด้วยวาจา ชื่อและลักษณะของยาคล้ายกันทำให้สับสน ลืมรับคำสั่งลงใน medication sheet ลืมให้ยา คัดลอกคำสั่งการให้ยาผิด ปัจจัยส่งเสริมเชิงระบบที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้แก่ ถูกขัดจังหวะขณะปฎิบัติงาน มีการฝึกงานภายในหอผู้ป่วยทำให้เสียสมาธิ ความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนอยู่ในระดับ miss/no follow-up ร้อยละ 39.1 near miss ร้อยละ 29.7 miss/follow-up ร้อยละ 29.7 miss/mild ร้อยละ 1.6 ผู้ป่วยไม่รู้ว่ามีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 93.7 รู้/ไม่ตระหนักร้อยละ 6.4 การใช้ medication sheet ยังไม่สามารถลดการเกิด administration error ได้ ควรพัฒนาระบบการให้ยาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยการนำแนวคิดเชิงระบบมาประยุกต์ในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ และพัฒนาระบบ IT เพื่อลดขั้นตอนที่เสี่ยงต่อการเกิดความคลาดเคลื่อน

URL
วัตถุประสงค์  ศึกษาความคลาดเคลื่อนในการให้ยาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 แห่ง ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2548
 
    พิมพ์หน้านี้