รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1460
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 12/10/2553
ชื่อเรื่องไทย ประสิทธิภาพของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของสถานีอนามัยร่วมกับโรงพยาบาล เปรียบเทียบกับรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาล
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก นิมิตร อินปั๋นแก้ว
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
พรพิมล คุณประดิษฐ์
สุภาพร เขื่อนศรี
จิรภา เฉลิมกิจ
จันทร์เพ็ญ พิมพิลา
รังสินี พันธ์เกษม
ธันยาพร กันทะขันนา
ชไมพร ทวิชศรี
ชยันตร์ธร ปทุมานนท์
สังกัด โรงพยาบาลศูนย์ โปรดระบุ โรงพยาบาลลำพูน
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน รายงานวิจัย
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
อื่นๆโรงพยาบาลลำพูน
   
ปี 2549
บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ทีมพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน (DM) ความดันโลหิตสูง (HT) และโรคหลอดเลือด โรงพยาบาลลำพูน ได้พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่สถานีอนามัยร่วมกับโรงพยาบาลมาตั้งแต่ปี 2546 แต่ยังไม่มีการประเมินประสิทธิภาพของระบบดังกล่าว

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการดูแลผู้ป่วย DM และผู้ป่วย HT แบบให้การดูแลที่สถานีอนามัยร่วมกับโรงพยาบาล (ระบบสถานีอนามัย) กับแบบให้การดูแลที่โรงพยาบาล (ระบบโรงพยาบาล)

รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ

สถานที่ศึกษา: สถานีอนามัยในเขตเมือง และโรงพยาบาลลำพูน

วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วย DM และผู้ป่วย HT ที่รักษารับการรักษาระบบโรงพยาบาล และระบบสถานีอนามัย รวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย ได้แก่ ลักษณะทั่วไปและผลการดูแลรักษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วย 2 ระบบ ด้วย chi-squared test หรือ exact probability test

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย DM ระบบโรงพยาบาล 144 และระบบสถานีอนามัย  144 คน มีลักษณะทั่วไปและโรคหรือภาวะพบร่วมคล้ายคลึง กลุ่มระบบโรงพยาบาลและกลุ่มระบบสถานีอนามัยตรวจตา 9.0% และ 2.1% (p = 0.018) ตรวจน้ำตาลในเม็ดโลหิตแดง (HbA1C) 9.0% และ 59.0% (p < 0.001) การตรวจอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ควบคุมระดับน้ำตาล (FBS) ให้อยู่ระดับปกติ (81-120 mg%) 47.1% และ 62.9% (p = 0.018) ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนและมาตรวจนอกนัดหรือมานอนโรงพยาบาลด้วยโรคที่สัมพันธ์กับ DM ไม่แตกต่างกัน ส่วนตัวอย่างผู้ป่วย HT ระบบโรงพยาบาล 240 คน และระบบสถานีอนามัย 240 คน มีลักษณะต่างกันคือ เป็นผู้ป่วยเพศหญิง 64.2% และ 75.0% (p = 0.010) พบภาวะไขมันในเลือดสูง 31.7% และ 20.8% (p = 0.007) ลักษณะอื่นๆ ไม่ต่างกัน การตรวจภาวะแทรกซ้อนและโรคร่วมประจำปี ได้แก่การตรวจ FBS 53.8% และ 30% (p < 0.001) การตรวจหัวใจ 6.3% และ 1.3% (p = 0.007) ควบคุมความดันโลหิตให้ไม่เกินปกติ (140/90 mmHg) 90.3% และ 90.9% (p = 0.598) ผู้ป่วยมาตรวจนอกนัดหรือมานอนโรงพยาบาลด้วยโรคที่สัมพันธ์กับ HT และมีอาการปวดหัวและวิงเวียนศีรษะ 2.9% และ 0% (p = 0.015)

ข้อยุติ: ผู้ป่วย DM ที่ดูแลรักษาระบบสถานีอนามัย ควบคุมโรคได้ดี ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนและโรคร่วมประจำปี และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร ได้ดีกว่าผู้ป่วยในระบบโรงพยาบาล ผู้ป่วย HT ที่รักษาระบบสถานีอนามัย ควบคุมโรคได้ดี เท่าๆ กับผู้ป่วยในระบบโรงพยาบาล ควรพิจารณาส่งผู้ป่วย DM และ HT ให้กลับไปรับการดูแลรักษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน

URL
วัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการดูแลผู้ป่วย DM และผู้ป่วย HT แบบให้การดูแลที่สถานีอนามัยร่วมกับโรงพยาบาล (ระบบสถานีอนามัย) กับแบบให้การดูแลที่โรงพยาบาล (ระบบโรงพยาบาล)

 
    พิมพ์หน้านี้