รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4286
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 18/10/2553
ชื่อเรื่องไทย สมรรถนะของพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ชื่อเรื่องอังกฤษ Competencies of Obstetric nurses working in Regional centers and General hospitals under The jurisdiction of The ministry of Public health, Thailand
ชื่อผู้วิจัยหลัก บุญมี ภูด่านงัว
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
อภิญญา จำปามูล
รัชตวรรณ ศรีตระกูล
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2548
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายแบบการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลแต่ละระดับในห้องคลอดตามการรับรู้ของหัวหน้างานห้องคลอด พยาบาลผู้ชำนาญการ พยาบาลประจำการ และแพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 434 คน เป็นหัวหน้างานห้องคลอดหรือพยาบาลผู้ชำนาญการที่มีระดับการปฏิบัติงานตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป จำนวน 42 คน พยาบาลประจำการที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในห้องคลอดตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 299 คน และแพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์ จำนวน 93 คน จากโรงพยาบาลศูนย์ 12 แห่ง และ โรงพยาบาลทั่วไป 17 แห่ง ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น(Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสมรรถนะที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับพยาบาลแต่ละระดับในห้องคลอด และข้อเสนอแนะอื่นๆ โดยได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามที่ตอบอย่างสมบูรณ์กลับคืนมาจำนวน 434 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 78.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ของหัวหน้างานห้องคลอด พยาบาลผู้ชำนาญการ พยาบาลประจำการ และแพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์ ต่อสมรรถนะของพยาบาลแต่ละระดับในห้องคลอด ดังนี้

พยาบาลจบใหม่; ระยะก่อนคลอด ควรมีสมรรถนะ 14 รายการ ระยะคลอด 5 รายการ ระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมง 6 รายการ และการบริหารจัดการ 1 รายการ

พยาบาลผู้มีความสามารถ; ควรมีสมรรถนะเพิ่มเติมจากพยาบาลจบใหม่ ในระยะก่อนคลอด 17 รายการ ระยะคลอด 12 รายการ ระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมง 5 รายการ และการบริหารจัดการ 1 รายการ

พยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญ; ควรมีสมรรถนะเพิ่มเติมจากพยาบาลผู้มีความสามารถในระยะคลอด 2 รายการ และการบริหารจัดการ 3 รายการ

จากผลการกำหนดสมรรถนะในการทำวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารสามารถนำไปสร้างแบบประเมินสมรรถนะสำหรับพยาบาลประจำการในห้องคลอด ที่มีเกณฑ์หรือตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับพยาบาล แต่ละระดับ และอาจทำการวิจัยเพื่อสร้างเครื่องมือหรือแบบประเมินระดับสมรรถนะที่มีความตรงตามโครงสร้างและความเชื่อมั่นได้ต่อไป

 

 

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลแต่ละระดับในห้องคลอดตามการรับรู้ของหัวหน้างานห้องคลอด พยาบาลผู้ชำนาญการ พยาบาลประจำการ และแพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
 
    พิมพ์หน้านี้