รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4287
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 18/10/2553
ชื่อเรื่องไทย สมรรถนะที่จำเป็นด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอังกฤษ Essential Competencies of Registered Nurses working in Emergency Department Phuwiang Hospital, Khon Kaen Province
ชื่อผู้วิจัยหลัก ณรงค์ คำอ่อน
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
อภิญญา จำปามูล
รัชตวรรณ ศรีตระกูล
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2548
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบประเมินสมรรถนะและคู่มือประกอบการประเมินสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ ศึกษารายละเอียดการดำเนินงานจากแบบวิเคราะห์งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน สถิติการมารับบริการ 3 ปีย้อนหลัง สำรวจปัญหาและความต้องการของหน่วยงาน ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สอบถามความคิดเห็นและจัดลำดับความสำคัญสมรรถนะที่ต้องการ และการจัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) ขั้นดำเนินการ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วยการบรรยายทางวิชาการ การประชุมกลุ่มพยาบาลวิชาชีพระดมสมองเพื่อสร้างแบบประเมินสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลฉบับร่าง การนำเสนอผลการประชุมกลุ่มการสรุปและประเมินผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ การนำแบบประเมินสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลฉบับร่างให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหา จำนวน 5 ท่าน การนำแบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะการปฏิบัติการพยาบาลฉบับร่าง ไปทดลองใช้กับพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน 7 แห่ง เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีความเท่าเทียมกันของการสังเกต (Interrater reliability) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะการปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation) 0.93 การช่วยใส่ท่อช่วยหายใจทางหลอดคอ (Endotracheal tube) 0.94 การตรวจและประเมินลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ต้องช่วยเหลือฉุกเฉิน (EKG) 0.97 การประเมินและช่วยเหลือผู้มีภาวะปริมาตรสารเหลวในร่างกายพร่อง (Hypovolemic shock) 0.97 ผลจากการดำเนินการศึกษาอิสระได้แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้และแบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะ โดยใช้ แบบสังเกตพฤติกรรม (Observation checklist) เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation) การช่วยใส่ท่อช่วยหายใจทางหลอดคอ (Endotracheal tube) การช่วยผ่าตัดหลอดเลือด (Cut down) การช่วยใส่ท่อระบายทรวงอก การตรวจและประเมินลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ต้องช่วยเหลือฉุกเฉิน และการประเมินและช่วยเหลือผู้มีภาวะปริมาตรสารเหลวในร่างกายพร่อง และคู่มือประกอบการประเมินสมรรถนะ 2 เล่ม คือ คู่มือประเมินสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ สำหรับพยาบาลวิชาชีพ และคู่มือประเมินสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ สำหรับพยาบาลพี่เลี้ยง งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ผลการศึกษาครั้งนี้ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลภูเวียงสามารถนำแบบประเมินสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ไปใช้เพื่อประเมินปฐมนิเทศ(Orientation) หรือประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี (Annual evaluation) และผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นแนวทางในการนิเทศ ติดตามผลการปฏิบัติงาน และสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพต่อไป

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบประเมินสมรรถนะและคู่มือประกอบการประเมินสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
 
    พิมพ์หน้านี้