รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 8065
ผู้กรอกข้อมูล โสภาพร พันธุลาวัณย์
วันที่กรอกข้อมูล 15/11/2553
ชื่อเรื่องไทย แบบของผู้นำและความสามารถในการบริหารงานตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์กระทรวงสาธารณสุข
ชื่อเรื่องอังกฤษ Leadership Styles and Managerial Abilities as Perceived by Head Nurses in Regional Hospitals, Ministry of Public Health
ชื่อผู้วิจัยหลัก พิชญา ศรีเกลื่อนกิจ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ชรินรัตน์ พุทธปวน
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2539
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบของผู้นำและความสามารถในการบริหารงาน ตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือหัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 284 คน ซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยวิธีการจับฉลากโรงพยาบาลศูนย์ทั้งหมด 9 เขต เขตละ 1 โรงพยาบาล รวม 9 โรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะผู้นำ ซึ่งแปลโดย อุทัย หิรัญโต และแบบประเมินความสามารถในการบริหารงาน ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ตรวจสอบคามตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่น .91 เก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ได้รับแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์จำนวน 225 ฉบับ ร้อยละ 84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบของผู้นำส่วนใหญ่เป็นผู้นำประสิทธิภาพสูง ร้อยละ 56.5 ที่เหลือเป็นผู้นำประสิทธิภาพต่ำ ร้อยละ 43.5 โดยแบบผู้นำประสิทธิภาพสูง ประกอบด้วย นักพัฒนา ผู้ยึดระเบียบ นักบริหารและผู้เผด็จการอย่างมีศิลปะ ร้อยละ 74.0, 15.0 , 7.1, และ 3.9 ตามลำดับ ส่วนแบบผู้นำประสิทธิภาพต่ำประกอบด้วย นักบุญ ผู้ละทิ้ง ผู้ประนีประนอม และผู้เผด็จการ ร้อยละ 57.1, 28.6,8.2 และ 6.1 ตามลำดับ

2. ระดับความสามารถในการบริหารงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสามารถในการบริหารงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 77.8 ที่เหลืออยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 22.2 ส่วนความสามารถในการบริหารงานแต่ละด้าน พบว่าด้านการวางแผน มีความสามารถในระดับสูง ร้อยละ 55.9 การจัดองค์การมีความสามารถในระดับสูง ร้อยละ 78.7 การจัดบุคลากร มีความสามารถในระดับสูง ร้อยละ 76.9 การอำนวยการ มีความสามารถระดับสูง ร้อยละ 80.0 และการควบคุม มีความสามารถในระดับสูง ร้อยละ 76.7

3. เปรียบเทียบระหว่างแบบของผู้นำกับความสามารถในการบริหารงาน

3.1 เปรียบเทียบระหว่างผู้นำประสิทธิภาพต่ำและผู้นำประสิทธิภาพสูงกับความสามารถในการบริหารงานโดยรวม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้นำแต่ละแบบกับความสามารถในการบริหารงานโดยรวม พบว่าไม่แตกต่างกัน

3.2 เปรียบเทียบระหว่างผู้นำประสิทธิภาพต่ำ ผู้นำประสิทธิภาพสูง และผู้นำแต่ละแบบกับความสามารถในการบริหารงานด้านการวางแผน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

3.3 เปรียบเทียบระหว่างผู้นำประสิทธิภาพต่ำ ผู้นำประสิทธิภาพสูง และผู้นำแต่ละแบบกับความสามารถในการบริหารงานด้านการจัดการ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .01, p <.05 ตามลำดับ

3.4 เปรียบเทียบระหว่างประสิทธิภาพต่ำ ผู้นำประสิทธิภาพสูง และผู้นำแต่ละแบบกับความสามารถในการบริหารงานด้านการจัดการบุคลากร พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <01 แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้นำแต่ละแบบ กับความสามารถในการบริหารงานด้านการจัดบุคากร พบว่าไม่แตกต่างกัน

3.5 เปรียบเทียบระหว่างผู้นำต่ำ ผู้นำประสิทธิภาพสูง และผู้นำแต่ละแบบกับความสามารถในการบริหารงานด้านการอำนวยการ พบว่าแตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <.01, p < .01 ตามลำดับ

3.6 เปรียบเทียบผู้นำต่ำ ผู้นำประสิทธิภาพสูง และผู้นำแต่ละแบบกับความสามารถในการบริหารงานด้านการควบคุม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.01 , p <.01 ตามลำดับ

URL http://library.cmu.ac.th/cmul/node/181
วัตถุประสงค์

1. ศึกษาแบบของผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย

2. ศึกษาความสามารถในการบริหารงานตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย

3. เปรียบเทียบแบบของผู้นำกับความสามารถในการบริหารงานตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย
 
    พิมพ์หน้านี้