รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 8074
ผู้กรอกข้อมูล โสภาพร พันธุลาวัณย์
วันที่กรอกข้อมูล 15/11/2553
ชื่อเรื่องไทย ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริงของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่องอังกฤษ Selected Factors Relating to Role Perception and Role Performance of Nursing Directors in Community Hospitals, Northeastern Region
ชื่อผู้วิจัยหลัก ราณี วิริยะเจริญกิจ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ศิริพร สิงหเนตร
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2535
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุราชการ ประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรการศึกษา และแรงจูงใจกับการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริง รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริงของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ตัวอย่างที่ศึกษา คือ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนใน 17 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหา และได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.73, 0.99 และ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า

1. หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในทุกบทบาท

2. หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี และต่ำกว่าปริญญาตรีมีการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริง โดยรวมทุกด้านไม่แตกต่างกัน เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ ในบทบาทด้านบริการพยาบาล

3. หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ที่เคยได้รับการฝึกอบรมทางด้านการบริหารจัดการมีการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริง โดยรวมทุกด้านสูงกว่าผู้ที่ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่าบทบาทด้านบริการพยาบาลไม่แตกต่างกัน

4. อายุราชการ ประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริงของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนทุกบทบาท

5. แรงจูงใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้บทบาทของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในทุกบทบาท

6. อายุราชการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติจริงของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในบทบาทด้านการบริหารจัดการที่ระดับ .05 ในบทบาทรวมทุกด้าน

7. ประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติจริงของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในบทบาทด้านการบริหารจัดการ

8. คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติจริงของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในบทบาทด้านการบริหารจัดการ ที่ระดับ .05 ในบทบาทรวมทุกด้าน

9. แรงจูงใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติจริงของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในทุกบทบาท
URL http://library.cmu.ac.th/cmul/node/181
วัตถุประสงค์

1. ระดับการรับรู้บทบาท ของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน

2. ระดับการปฏิบัติจริง ของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน

3. เปรียบเทียบการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริง ของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน

4. เปรียบเทียบการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริง ของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี และต่ำกว่าปริญญาตรี

5. เปรียบเทียบการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริง ของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล ที่เคยได้รับการฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการกับผู้ที่ไม่เคยได้รับการฝึกอบรม

6. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุราชการ ประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรการศึกษาและแรงจูงใจ กับการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติจริง ของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน
 
    พิมพ์หน้านี้