การวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพการใช้จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการใช้จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นการวิจัยแบบพรรณนา (Descriptive Research) กับกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 1,500 คน จากโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลสังกัดกรมอื่นๆ ในกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 125 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามเรื่องการศึกษาสภาพการใช้จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข แบ่งแบบสอบถามเป็น 5 ด้าน ตามจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล แยกเป็นฉบับตามจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลเป็น 5 ฉบับ รวมเป็น 1 ชุด แต่ละฉบับเป็นการสอบถามในเรื่องโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ 5 ด้านคือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชน การปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมและประเทศชาติ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ต่อวิชาชีพ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น และด้านการปฏิบัติหน้าที่ต่อตนเอง และสอบถามเรื่องปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพของพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ 5 ด้าน เช่น ผลการวิจัยพบว่า
1.โอกาสในการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพทั้ง 5 ด้าน คือ จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติ จรรยาบรรณวิชาชีพต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง พยาบาลวิชาชีพมีโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับมาก ทั้งในโรงพยาบาลที่กำลังพัฒนาคุณภาพ (ค่าเฉลี่ย = 4.15, 4.05, 4.12, 4.13 และ 4.17) และโรงพยาบาลที่ได้รับ HA และ ISO (ค่าเฉลี่ย = 4.15 4.05 4.12 4.13 และ 4.17) (ค่าเฉลี่ย = 4.16 4.17 4.22 4.25 และ 4.06)
เพื่อศึกษาสภาพการใช้จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
1. เพื่อศึกษาโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Contact Us | Terms of Use | Trademarks | Privacy Statement Copyright © 2009 ---. All Rights Reserved.
Web Template created with Artisteer.