รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2230
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 6/5/2554
ชื่อเรื่องไทย สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคเหนือตอนล่างตามการรับรู้ของตนเองและของหัวหน้างานห้องคลอด
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก มนทรัตน์ อโณวรรณพันธ์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ประนอม โอทกานนท์
จรรจา สันตยากร
สังกัด มหาวิทยาลัยนเรศวร
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร 
   
ปี 2550
บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด  โรงพยาบาลชุมชนเขตภาคเหนือตอนล่าง จำแนกตามสถานภาพของผู้ให้ข้อมูลและจำแนกตามขนาดของโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ทำงาน  5  ปีขึ้นไป จำนวน 117 คน หัวหน้างานห้องคลอด จำนวน  69 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านสมรรถนะหลัก สมรรถนะประจำกลุ่มงานและสมรรถนะเชิงวิชาชีพ แบบมาตราส่วนประมาณค่า มีความตรงตามเนื้อหา คำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค ได้ค่าความเที่ยงชุด  1  เท่ากับ  .96  และชุด 2 เท่ากับ  .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ

            ผลการวิจัยพบว่า                                                                      

1.      สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ ตามการรับรู้ของตนเองและ ของหัวหน้างานห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชน

เขตภาคเหนือตอนล่าง โดยรวมอยู่ในระดับ “สูง”

2.      พยาบาลวิชาชีพ รับรู้สมรรถนะเชิงวิชาชีพของตนเองต่ำกว่าและรับรู้สมรรถนะโดยรวมสูงกว่าการรับรู้

ของหัวหน้างาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 และ  .05 ตามลำดับ

            3. พยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลขนาด  90 – 120 เตียง รับรู้สมรรถนะเชิงวิชาชีพของตนเอง สูงกว่าพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลขนาด  60 เตียงและ  30 เตียง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

            4. หัวหน้างานในโรงพยาบาลขนาด  90 – 120  เตียง รับรู้สมรรถนะประจำกลุ่มงาน สมรรถนะเชิงวิชาชีพ  และสมรรถนะโดยรวมของพยาบาลวิชาชีพ สูงกว่าหัวหน้างาน โรงพยาบาลขนาด 30 เตียงและ 60 เตียงที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ  .01

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด  โรงพยาบาลชุมชนเขตภาคเหนือตอนล่าง
 
    พิมพ์หน้านี้