วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สาเหตุและระดับของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กรพยาบาล วิธีการจัดการกับความขัดแย้งของผู้บริหารการพยาบาล ผลของการจัดการกับความขัดแย้ง และปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการกับความขัดแย้งของหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล รองหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล หัวหน้างาน รองหัวหน้างาน หัวหน้าหอผู้ป่วย รองหัวหน้าหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 116 คน เครื่องมือชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสาเหตุ และระดับของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กรพยาบาล สร้างโดย มณฑิกา แก้วทองคำ ( 2539) เครื่องมือชุดที่ 2 ใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับความขัดแย้ง ที่วิภาดา คุณาวิกติกุล แปลและเรียบเรียงจาก Thomas-kilmann Conflict MODE และคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กรพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนที่ศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุของความขัดแย้งที่พบมากที่สุดในองค์กรพยาบาลได้แก่ การมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน ผู้บริหารการพยาบาลพบว่า ระดับของความขัดแย้งโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ระดับของความขัดแย้งในด้านทรัพยากรที่จำกัดอยู่ในระดับต่ำ ผู้บริหารการพยาบาลเลือกใช้วิธีการประนีประนอมในการจัดการกับความขัดแย้งมากที่สุด รองลงมาเป็นวิธีการหลีกเลี่ยง วิธีการร่วมมือ วิธีการปรองดอง และวิธีการแข่งขันตามลำดับ วิธีการจัดการการจัดการกับความขัดแย้งที่ได้ผลดีที่สุด คือ วิธีการร่วมมือซึ่งสามารถจัดการกับความขัดแย้งได้ทุกสาเหตุวิธีการที่ไม่สามารถจัดการกับความขัดแย้งให้หมดไปได้คือวิธีการหลีกเลี่ยง ผู้บริหารการพยาบาลเสนอว่า ปัจจัยเอื้อต่อการจัดการกับความขัดแย้ง ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคลที่ดีของบุคลากรและผู้บริหาร การบริหารจัดการกับความขัดแย้ง ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคลที่ดีของบุคลากรและผู้บริหาร การบริหารจัดการที่เหมาะสม วิธีการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนร่วม การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และวัฒนธรรมขององค์กรที่มีความสามัคคี สำนึกรักองค์กร และมีพัฒนาคุณภาพของงานอย่างต่อเนื่อง
|