รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2235
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 8/5/2554
ชื่อเรื่องไทย คุณภาพการบริหารการพยาบาลและคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก วิภาวรรณ น้อยภู่
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ประภา ลิ้มประสูตร
ประนอม โอทกานนท์
สังกัด มหาวิทยาลัยนเรศวร
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร 
   
ปี 2548
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริหารการพยาบาลและคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ เปรียบเทียบคุณภาพการบริหารการพยาบาล และคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาย ระดับ การศึกษาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์รหว่างคุณภาพการบริหารการพยาบาลกับคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ จำนวน  220 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนประชากรในแต่ละโรงพยาบาลแล้วสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple  Random  Sampling) โดยการจับฉลากรายชื่อของพยาบาลวิชาชีพแบบไม่คืนที่ (sampling  without  replacement ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามคุณภาพการบริหารการพยาบาล และคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating  scale) ซึ่งผู้วิจัยสร้างโดยใช้กรอบมาตรฐานของสำนักกรพยาบาล (เดิมชื่อกองการพยาบาล) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง  0.95 และ  0.93 ตามลำดับ

            การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t – test  Independent  Samples, F – test   และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ( Pearson  Product  Moment  Correlation  Coefficient) กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. คุณภาพการบริหารการพยาบาลและคุณภาพการปฏิบัติงานพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับสูง

            2. พยาบาลวิชาชีพที่มีอายุและประสบการณ์การทำงานมาก รับรู้คุณภาพการบริหารการพยาบาลโดยรวมสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุและประสบการณ์การทำงานน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พยาบาลวิชาชีพที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท รับรู้คุณภาพการบริหารการพยาบาลไม่แตกต่างกัน

            3. พยาบาลวิชาชีพที่มีอายุและระดับการศึกษาแตกต่างกัน รับรู้คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลโดยรวมไม่แตกต่างกัน พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานมาก รับรู้คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลโดยรวมสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

            4. คุณภาพการบริหารการพยาบาลมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริหารการพยาบาลและคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ เปรียบเทียบคุณภาพการบริหารการพยาบาล และคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาย ระดับ การศึกษาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์รหว่างคุณภาพการบริหารการพยาบาลกับคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
 
    พิมพ์หน้านี้