รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2237
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 8/5/2554
ชื่อเรื่องไทย ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงงพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก ระวิวรรณ เตชทวีทรัพย์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ประภา ลิ้มประสูตร
นันทนา น้ำฝน
สังกัด มหาวิทยาลัยนเรศวร
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร 
   
ปี 2548
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา  1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมและรายด้าน  2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล คือ ฐานะทางเศรษฐกิจ ประสบการณ์ในการทำงาน กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ  3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การ คือ ขนาดโรงพยาบาล จำนวนบุคลากรทางการพยาบาล กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ  4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เป็นปฏิกิริยาร่วมระหว่างบุคคลและองค์การ คือ การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การการได้รับการฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล บทบาทที่ได้รับมอบหมายในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ  5) ตัวแปรพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน  358 คน เลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  การวิเคราะห์ไคสแควร์  One – way  ANOVA และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน        

            ผลการวิจัยพบว่า

1.      การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนใน

เขตภาคเหนือตอนล่าง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (   = 3.82, SD  = 0.67)  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านผลประโยชน์ (   = 3.99, SD  = 0.70)  ด้านการตัดสินใจ  (   = 3.85, SD  = 0.70) ด้านการประเมินผล  (   = 3.82, SD  = 0.74)  และด้านการปฏิบัติ (   = 3.75, SD  = 0.75)  ตามลำดับ

2.      ปัจจัยด้านบุคคล คือ ฐานะทางเศรษฐกิจ ประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม

ในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01

 

 

            3. ปัจจัยด้านองค์การ คือ ขนาดโรงพยาบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลโดยรวม เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ขนาดโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนจำนวนบุคลากรทางการพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางลบกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

            4. ปัจจัยที่เป็นปฏิกริยาร่วมระหว่างบุคคลและองค์การ คือ การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ การได้รับการฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล บทบาทที่ได้รับมอบหมายในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01

            5. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01 มี  5 ตัวแปร ได้แก่การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ การได้รับการฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล บทบาทที่ได้รับมอบหมายในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลฐานะทางเศรษฐกิจ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ได้ร้อยละ  50.5 ( R 2  = 0.505) ได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

            Z =  0.293 การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง  + 0.335 ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ  + 0.182 การที่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล + 0.134 บทบาทที่ได้รับมอบหมายในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล + 0.107 ฐานะทางเศรษฐกิจ

URL
วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา  1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมและรายด้าน  2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล คือ ฐานะทางเศรษฐกิจ ประสบการณ์ในการทำงาน กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ  3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การ คือ ขนาดโรงพยาบาล จำนวนบุคลากรทางการพยาบาล กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ  4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เป็นปฏิกิริยาร่วมระหว่างบุคคลและองค์การ คือ การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การการได้รับการฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล บทบาทที่ได้รับมอบหมายในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ  5) ตัวแปรพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ
 
    พิมพ์หน้านี้