วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจในงาน ความสามารถในการปฏิบัติงาน กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก และ 3) ตัวแปรพยากรณ์ที่ร่วมกันทำนายความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 285 คน เลือกได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความพึงพอใจในงานแบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติงาน และแบบสอบถามความยึดมั่นต่อองค์การ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า
1. ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก อยู่ในระดับสูง
2. อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในงาน ความสามารถในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวก กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 33.6 แสดงเป็นสมการในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานดังนี้
บ Ý= 1.035 + .264 ปัจจัยจูงใจ + .224 ความสามารถในการให้การพยาบาลผู้ป่วย + .209
ความสามารถในการสอนและการเรียนรู้ + .041 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
Ź = .256 ปัจจัยจูงใจ + .215 ความสามารถในการให้การพยาบาลผู้ป่วย + .210 ความสามารถ
ในการสอนและการเรียนรู้ + .112 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
|