การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความปลอดภัยในงานบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดของ
โรงพยาบาลศูนย์ ด้านการป้องกันตกค้างของสิ่งแปลกปลอมในร่างกายผู้ป่วยผ่าตัด จากปัจจัยทั้งหมด 4ด้านต่อไปนี้ การบริหารงานในห้องผ่าตัด การควบคุมกำกับการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัด สภาวะที่มีผลต่อการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัด และการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัดและเปรียบเทียบความปลอดภัยในงานบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดของโรงพยาบาลศูนย์ที่ได้รับและยังไม่ได้การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ด้านการป้องกันการตกค้างของสิ่งแปลกปลอมในร่างกายผู้ป่วยผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดที่ทำหน้าที่พยาบาลส่งเครื่องมือผ่าตัดหรือพยาบาลช่วยรอบนอกในห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสขุ จำนวน 260 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามกลุ่มของโรงพยาบาลศูนย์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูล่วนบุคคล แบบสอบถามการบริหารงานในห้องผ่าตัด แบบสอบถามการควบคุมกำกับการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัด และแบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัด แบบสอบถามความปลอดภัยสร้างจากแนวคิดการวิเคราะห์ปัจจัยมนุษย์และจำแนกระบบของเวคแมนและแซพเพล ( Wiegmann & Shappell, 2003) ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในงานบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดของโรงพยาบาลศูนย์โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และเปรียบเทียบความปลอดภัยในงานบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดของโรงพยาบาลศูนย์โดยทดสอบค่าที ( t – test )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความปลอดภัยในงานบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดของโรงพยาบาลศูนย์ ด้านการตกค้างของสิ่งแปลกปลอมในร่างกายผู้ป่วยผ่าตัด โดยรวมอยู่ในระดับสูง
2. ความปลอดภัยในงานบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดของโรงพยาบาลศูนย์ที่ได้รับการรับรองและยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ด้านการตกค้างของสิ่งแปลกปลอมในร่างกายผู้ป่วยผ่าตัด มีค่าเฉลี่ยโดยรวมไม่แตกต่างกัน
|