รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2251
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 9/5/2554
ชื่อเรื่องไทย พฤติรรมการดูแลเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลตามทัศนะของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก วันทนีย์ เสถียรวันทนีย์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
พยอม อยู่สวัสดิ์
สังกัด มหาวิทยาลัยนเรศวร
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร 
   
ปี 2546
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลตามทัศนะของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ  กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลพุทธชินราช  พิษณุโลก  จำนวน  15 คน เก็บรวบรวมข้อมลโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ระดับลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีของโคไลซี่ ( Colaizzi )

            ผลการวิจัยพบว่า

            พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยรับรู้ความหมายของการดูแลเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาล  3 ลักษณะ คือ  1) อยู่ในสายเลือดของการพยาบาล  2) ทำด้วยใจ ไม่ใช่เพียงหน้าที่ 3) เป็นการปฏิบัติที่ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ การแสดงออกของพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรมี  4 ประเด็น คือ  1) เกิดจากความรู้สึกภายใน  2) มีวิธีการแสดงออกของพฤติกรรม   3) เป็นการกระทำที่ผสมผสานไปกับปฏิบัติการพยาบาล   4) เป็นวิธีการบำบัดทางการพยาบาล ผลลัพธ์พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรต่อผู้ใช้บริการได้แก่ 1) ด้านร่างกายคือ เพิ่มความสุขสบาย บรรเทาความทุกข์ทรมาน  2) ด้านจิตใจ เช่น ให้ความไว้วางใจ  มีความพึงพอใจ  มีกำลังใจ อบอุ่นใจ   3) ด้านเศรษฐกิจช่วยให้ลดค่าใช้จ่าย  ผลลัพธ์ต่อผู้ให้บริการได้แก่  1) มีความสุข  ภูมิใจ  สบายใจ   2) เป็นพลัง  มีกำลังใจทำต่อเนื่อง  3) ภาพพจน์พยาบาลดีขึ้น  4) ภาพพจน์โรงพยาบาลดีขึ้น พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยมีกลยุทธ์ในการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรแก่บุคลากรพยาบาล  6 วิธีคือ  1) เป็นแบบอย่างในการดูแลเอื้ออาทร 2) ให้ความใกล้ชิดและดูแลเอื้ออาทรในทุก ๆ เรื่อง  3) มีความยืดหยุ่นบนพื้นฐานของเหตุผล   4) สั่งการและให้คำแนะนำ  5) ปลุกจิตสำนึก   6) ต่อรองการปฏิบัติที่ดี

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลตามทัศนะของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ 
 
    พิมพ์หน้านี้