รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2252
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 9/5/2554
ชื่อเรื่องไทย การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาลคลองขลุงจังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก มัลลิกา ศรีรัตนาลิ้มวงศ์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
นันทนา น้ำฝน
ประนอม โอทกานนท์
สังกัด มหาวิทยาลัยนเรศวร
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร 
   
ปี 2548
บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมาตรฐานการพยาบาลเชิงกระบวนการและเชิงผลลัพธ์ผู้คลอดปกติในโรงพยาบาลคลองขลุง   จังหวัดกำแพงเพชร  โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการเสริมสร้างพลังอำนาจ และประเมินประสิทธิผลของมาตรฐานการพยาบาลจากมาตรฐานการพยาบาลเชิงผลลัพธ์ และความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้คลอดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอด จำนวน  30 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินผลในมาตรฐานการพยาบาลเชิงผลลัพธ์ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการบริการพยาบาลของผู้คลอด

            ผลการสร้างมาตรฐานการพยาบาลสรุปได้ดังนี้

1.      มาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดปกติประกอบด้วย มาตรฐานการพยาบาลเชิงกระบวนการ 5 มาตรฐาน

(จำนวน  44 ข้อ) มาตรฐานการพยาบาลเชิงผลลัพธ์  5  มาตรฐาน (จำนวน  44 ข้อ) ดังนี้

            มาตราฐานที่ 1  ผู้คลอดได้รับการประเมินภาวะสุขภาพในระยะแรกรับ (จำนวน  7 ข้อ)

            มาตราฐานที่ 2 ผู้คลอดได้รับการเฝ้าระวังความก้าวหน้าในระยะที่ 1 ของการคลอด (จำนวน 10ข้อ)

            มาตรฐานที่ 3 ผู้คลอดปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนในระยะที่ 2 และ  3 ของการคลอด (จำนวน 19 ข้อ)

            มาตรฐานที่ 4 ผู้คลอดปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด (จำนวน 7 ข้อ)

            มาตรฐานที่  5 ผู้คลอดได้รับการพยาบาลด้วยความเคารพในสิทธิและความเป็นบุคคล (จำนวน 1 ข้อ)

2.      ประสิทธิผลของมาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดปกติ

            2.1 มาตรฐานการพยาบาลเชิงผลลัพธ์มาตรฐานที่  1, 3, 4 และ 5 อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก มาตรฐานที่  2 อยู่ในเกณฑ์ระดับดี

            2.2 ความพึงพอใจต่อการบริการพยาบาลของผู้คลอด อยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ย 4.51)

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างมาตรฐานการพยาบาลเชิงกระบวนการและเชิงผลลัพธ์ผู้คลอดปกติในโรงพยาบาลคลองขลุง   จังหวัดกำแพงเพชร  โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการเสริมสร้างพลังอำนาจ และประเมินประสิทธิผลของมาตรฐานการพยาบาลจากมาตรฐานการพยาบาลเชิงผลลัพธ์ และความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้คลอด
 
    พิมพ์หน้านี้