รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2253
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 10/5/2554
ชื่อเรื่องไทย การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก ทิพวัลย์ ศรีพิพัฒนกุล
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ชมนาด วรรณพรศิริ
นงนุช โอบะ
สังกัด มหาวิทยาลัยนเรศวร
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร 
   
ปี 2549
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่ด้านบริหาร และที่ทำหน้าที่ด้านบริการ ต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่  พยาบาลวิชาชีพจำนวน  390 คน เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่ด้านบริหาร จำนวน  32 คน และที่ทำหน้าที่ด้านบริการจำนวน  358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ได้แก่  แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  แบบสอบถามการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการรับรู้ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของพยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่ด้านบริหาร และที่ทำหน้าที่ด้านบริการโดยทดสอบค่าทีอิสระ

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มการพยาบาโรงพยาบาลศูนย์ ตามการรับรู้พยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านองค์กรส่วนโครงสร้างการบริหารงาน กลยุทธ์และแผน อยู่ในระดับมาก ส่วนอุปกรณ์และการสนับสนุนจากองค์กร สิ่งแวดล้อมบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ และเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านบุคคล การมีแบบแผนความคิด การคิดอย่างเป็นระบบ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การเป็นบุคคลที่รอบรู้ และการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน อยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย  3.90, 3.80, 3.78 , 3.56 และ  3.56 ตามลำดับ

            2. พยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่บริหาร มีการรับรู้ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มการพยาบาล โดยรวมสูงกว่า พยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีการรับรู้ด้านองค์กรไม่แตกต่างกัน แต่พยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่บริหารมีการรับรู้ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านบุคคลสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่ด้านบริหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่ด้านบริหาร และที่ทำหน้าที่ด้านบริการ ต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
 
    พิมพ์หน้านี้