รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2245
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 10/5/2554
ชื่อเรื่องไทย ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนำร่องส่งเสริมสุขภาพในเขตภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก อุษารัตน์ สุขผล
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ประภา ลิ้มประสูตร
ประนอม โอทกานนท์
สังกัด มหาวิทยาลัยนเรศวร
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร 
   
ปี 2548
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ สถานภาพสมรสระดับการศึกษา ดัชนีมวลกาย  ตำแหน่ง  จำนวนบุคคลที่เป็นภาระ งานอื่นนอกเหนือจากงานประจำรายได้  โรคประจำตัว  ระยะเวลาที่ใช้เดินทางมาที่ทำงาน พฤติกรรมในอดีตการรับรู้ประโยชน์ของการกระทำ การรับรู้อุปสรรคของการกระทำ  การรับรู้สมรรถนะแห่งตน  อิทธิพลด้านสัมพันธภาพอิทธิพลด้านสถานการณ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ  (2) ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและสร้างสมการพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและ (3) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนำร่องส่งเสริมสุขภาพในเขตภาคเหนือตอนล่างจำนวน  300 คน ตัวแปรพยากรณ์ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส  ระดับการศึกษา ดัชนีมวลกาย ตำแหน่ง จำนวนบุคคลที่เป็นภาระ งานอื่นนอกเหนืองานประจำ รายได้ โรคประจำตัว ระยะเวลาที่ใช้เดินทางมาทำงาน พฤติกรรมในอดีต การรับรู้ประโยชน์ของการกระทำ การรับรู้อุปสรรคของการกระทำ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลด้านสัมพันธภาพ อิทธิพลด้านสถานการณ์ ตัวแปรเกณฑ์ได้แก่พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่  แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  แบบสอบถามพฤติกรรมในอดีต  แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการกระทำ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการกระทำ  แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน  แบบสอบถามอิทธิพลด้านสัมพันธภาพ แบบสอบถามอิทธิพลด้านสถานการณ์และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์เส้นทาง

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

            1. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ สถานภาพสมรส  ระดับการศึกษา ดัชนีมวลกาย ตำแหน่งจำนวนบุคคลที่เป็นภาระ  งานอื่นนอกเหนืองานประจำ  รายได้  โรคประจำตัว  ระยะเวลาที่ใช้เดินทางมาที่ทำงาน พฤติกรรมในอดีต การรับรู้ประโยชน์ของการกระทำ  การรับรู้อุปสรรคของการกระทำการรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลด้านสัมพันธภาพ อิทธิพลด้านสถานการณ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .001

            2. ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่พฤติกรรมในอดีต (X11) การรับรู้ประโยชน์ของการกระทำ (X12) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (X14) และอิทธิพลด้านสัมพันธภาพ (X15)กลุ่มตัวพยากรณ์ที่มีอำนาจในการพยากรณ์ได้ร้อยละ  53.60 เขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y) และคะแนนมาตรฐาน (Z) ได้ดังนี้

 

Ý  = 0.108 + 0.224 X 11 + 0.0924 X 12 + 0.323 X 14+ 0.172 X 15

 

Ź =  0.299Z11 + 0.104Z 12 + 0.372Z 14+ 0.162 X 15

            3. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและผลของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพเป็นดังนี้

0.539

 

Text Box: 0.286

พฤติกรรมในอดีต

  อิทธิพลด้านสถานการณ์

การรับรู้ประโยชน์

การรับรู้สมรรถนะแห่ง

   การรับรู้อุปสรรค

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

อิทธิพลด้านสัมพันธภาพ

0.428

0.481

0.599

0.320

0.371

0.319

0.411

0.306

0.458

Text Box: 0.353Text Box: 0.197Text Box: 0.325Text Box: 0.266Text Box: 0.379

 

            ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพได้แก่ อายุ โรค รายได้  ดัชนีมวลกาย  งานอื่นนอกจากงานประจำ  พฤติกรรมในอดีต  การรับรูประโยชน์ของการกระทำ  การรับรู้สมรรถนะแห่งตน  อิทธิพลด้านสัมพันธภาพและอิทธิพลด้านสถานการณ์ อิทธิพลทางตรงได้แก่  อายุ  โรค  พฤติกรรมในอดีต  การรับรู้ประโยชน์ของการกระทำ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน  อิทธิพลด้านสัมพันธและอิทธิพลด้านสถานการณ์

 

URL
วัตถุประสงค์ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ สถานภาพสมรสระดับการศึกษา ดัชนีมวลกาย  ตำแหน่ง  จำนวนบุคคลที่เป็นภาระ งานอื่นนอกเหนือจากงานประจำรายได้  โรคประจำตัว  ระยะเวลาที่ใช้เดินทางมาที่ทำงาน พฤติกรรมในอดีตการรับรู้ประโยชน์ของการกระทำ การรับรู้อุปสรรคของการกระทำ  การรับรู้สมรรถนะแห่งตน  อิทธิพลด้านสัมพันธภาพอิทธิพลด้านสถานการณ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ  (2) ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและสร้างสมการพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและ (3) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
 
    พิมพ์หน้านี้