รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2257
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 10/5/2554
ชื่อเรื่องไทย ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไปเขตภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก วีรวรรณ อิสระธานันท์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ประภา ลิ้มประสูตร
ประนอม โอทกานนท์
สังกัด มหาวิทยาลัยนเรศวร
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร 
   
ปี 2548
บทคัดย่อ

การศึกาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับ  1) ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย  2) ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย  3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย และ  4) ตัวแปรพยากรณ์ของภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่สามารถทำนายประสิทธิผลของหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคเหนือตอนล่าง ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน  303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วย  3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ตอนที่  2  ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย และ ตอนที่  3 ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย มีค่าความเที่ยง (ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค) ของคำถามส่วนที่ 2 และ  3 เท่ากับ 0.95  และ  0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.  ค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน  และภาวะผู้นำแบบตามสบายอยู่ในระดับมาก  ปานกลาง  และน้อย ตามลำดับ

            2. ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของหอผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก โดยมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากคือ ความสามารถในการปรับตัว ความพึงพอใจในงาน ประสิทธิภาพการบริการ และการพัฒนาตามลำดับ ส่วนความสามารถในการผลิต อยู่ในระดับปานกลาง

            3.  ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยในแต่ละด้านและโดยรวม  ส่วนภาวะผู้นำแบบตามสบายไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย

            4. ตัวแปรพยากรณ์ของภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่สามารถทำนายประสิทธิผลของหอผู้ป่วยในแต่ละด้านและโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีดังนี้

                        4.1  ประสิทธิผลหอผู้ป่วยด้านความสามารถในการผลิต คือ การกระตุ้นเชาว์ปัญญาโดยสามารถพยากรณ์ได้ ร้อยละ  10.7 มีสมการพยากรณ์ดังนี้

 

   Ý1    = 2.858  + 0.284  การกระตุ้นเชาว์ปัญญา

   Ź1  =  0.327 Z  การกระตุ้นเชาว์ปัญญา

                                4.2  ประสิทธิผลหอผู้ป่วยด้านประสิทธิภาพการบริการคือการกระตุ้นเชาว์ปัญญาและภาวะผู้นำแบบตามสบาย โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ  17.5 มีสมการพยากรณ์ดังนี้

 

   Ý2    = 3.159   + 0.304   การกระตุ้นเชาว์ปัญญา + 0.110   ภาวะผู้นำแบบตามสบาย

   Ź1  =  0.393   การกระตุ้นเชาว์ปัญญา -  0.124 ภาวะผู้นำแบบตามสบาย

                                4.3  ประสิทธิผลหอผู้ป่วยด้านความพึงพอใจในงานคือ การสร้างแรงบันดาลใจ และ การคำนึงถึงเอกบุคคล โดยสามารถพยากรณ์ ได้ร้อยละ 17.1 มีสมการพยากรณ์ดังนี้

   Ý3   = 2.612   + 0.225 การสร้างแรงบันดาลใจ   + 0.160   การคำนึงถึงเอกบุคคล

   Ź3  =  0.250  การกระตุ้นเชาว์ปัญญา + 0.190  การคำนึงถึงเอกบุคคล

                                4.4  ประสิทธิผลหอผู้ป่วยด้านความสามารถในการปรับตัว คือ การกระตุ้นเชาว์ปัญญา โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 9.7 มีสมการพยากรณ์ดังนี้

   Ý4   = 3.128    + 0.256  การกระตุ้เชาว์ปัญญา

   Ź4  =  0.311   การกระตุ้นเชาว์ปัญญา

                                4.5  ประสิทธิผลหอผู้ป่วยด้านการพัฒนาคือ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นเชาว์ปัญญา และการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อม โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 25.8 มีสมการพยากรณ์ดังนี้

   Ý5    = 2.521    + 0.286   การสร้างแรงบันดาลใจ  + 0.213   การกระตุ้นเชาว์ปัญญา – 0.175 การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อม

   Ź5  =  0.259    การสร้างแรงบันดาลใจ + 0.196 การกระตุ้นเชาว์ปัญญา – 0.159 การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อม

                                4.6  ประสิทธิผลหอผู้ป่วยโดยรวม คือ การกระตุ้นเชาว์ปัญญา และการสร้างแรงบันดาลใจ โดยสามารถพยากรณ์ได้ ร้อยละ 22.2  มีสมการพยากรณ์ดังนี้

   Ý    = 2.722    + 0.184   การกระตุ้นเชาว์ปัญญา + 0.164  การสร้างแรงบันดาลใจ

   Ź  =  0.259   การกระตุ้นเชาว์ปัญญา + 0.236  การสร้างแรงบันดาลใจ

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับ  1) ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย  2) ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย  3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย และ  4) ตัวแปรพยากรณ์ของภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่สามารถทำนายประสิทธิผลของหอผู้ป่วย
 
    พิมพ์หน้านี้