การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้วิธีการเชิงสำรวจตรวจค้นแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional exploratory research) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภารกิจของบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลศิริราช โดยวิเคราะห์เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพจำนวน 46 คนและผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 10 คน ตามคู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยหนัก Tiss-28 การบันทึกเวลาปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล ใช้วิธีการสังเกตและจับเวลาการปฏิบัติงานกับผู้ป่วย จำนวน 120 คน และวิเคราะห์ระดับความสำคัญและความยากของแต่ละภารกิจทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้แบบสำรวจภารกิจของพยาบาลวิชาชีพ จาก
พยาบาลวิชาชีพทั้งหมด 46 คน
ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาลใช้เวลาเฉลี่ยในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลในเวรเช้า มากกว่ากิจกรรมการพยาบาลโดยตรง โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลที่พยาบาลใช้เวลามากที่สุด คือ กิจกรรมส่วนบุคคล รองลงมาคือ การบันทึกรายงานเอกสาร กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน และกิจกรรมทางอ้อม ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์ระดับความสำคัญและระดับความยากของแต่ละภารกิจทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ พบว่า ภารกิจส่วนใหญ่มีความสำคัญระดับสูง และไม่พบภารกิจที่มีความสำคัญระดับต่ำ หมวดกิจกรรมที่มีความสำคัญระดับสูงมากที่สุด ได้แก่ หมวดด้านการให้ยาประเภทต่างๆและการปฏิบัติการพยาบาล การสอนและการประคับประคองจิตใจ และน้อยที่สุดคือการดูแลเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันความยากต่อการปฏิบัติภารกิจนั้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางข้อเสนอแนะ ผู้บริหารน่าจะนำแบบการจำแนกประเภทผู้ป่วยหนัก Tiss-28 มาใช้ในการจำแนก
ประเภทผู้ป่วยในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก และการปฐมนิเทศพยาบาลน่าจะพิจารณาปฐมนิเทศภารกิจตามระดับความสำคัญและความยากในการปฏิบัติการพยาบาล และกำหนดเกณฑ์ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (C.V.) ของแต่ละภารกิจ ที่มีค่าน้อยกว่า 20% จัดเป็นภารกิจสำคัญหลักในหน่วยงาน
Contact Us | Terms of Use | Trademarks | Privacy Statement Copyright © 2009 ---. All Rights Reserved.
Web Template created with Artisteer.