รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2203
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 12/5/2554
ชื่อเรื่องไทย ผลของแผนการจำหน่ายต่ออุบัติการณ์แผลกดทับของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงใน โรงพยาบาลศิริราช
ชื่อเรื่องอังกฤษ THE EFFECT OF A DISCHARGE PLAN ON OCCURRENCE OF PRESSURE ULCERS AMONG AT RISK PATIENTS IN SIRIRAJ HOSPITAL
ชื่อผู้วิจัยหลัก นิวรรณ นันทสุขเกษม
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สุคนธา คงศีล
สุขุม เจียมตน
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2546
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนและหลัง วัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมินผลของแผนการจำหน่ายต่ออุบัติการณ์แผลกดทับ 2) ความบ่อยในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยของผู้ดูแล 3) ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ป่วยได้แก่ เพศ อายุ การได้รับยา ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับกับอุบัติการณ์แผลกดทับ 4) ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ดูแลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ด้านการดูแล ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยกับอุบัติการณ์แผลกดทับ เก็บข้อมูลที่หอผู้ป่วยพิเศษอายุรศาสตร์ในโรงพยาบาล ศิริราช ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548 ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2548 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับและผู้ดูแล จำนวน 30 คู่ ในการศึกษาได้ใช้แผนการจำหน่ายที่สร้างขึ้นโดยอาศัยกรอบ

M-E-T-H-O-D เป็นแนวทางในการให้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันแผลกดทับให้แก่ผู้ดูแลในแผนการจำหน่ายมีการติดตามเยี่ยมรวม 5 ครั้ง เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดน แบบประเมินแผลกดทับ และแบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อป้องกันแผลกดทับของผู้ดูแล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ความถี่ เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งใช้สถิติ Paired t-test, ANOVA และ Fisher exact test มาวิเคราะห์ข้อมูล ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการวิจัยพบว่าแผนการจำหน่ายที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการวิจัยมีผลในการลดอุบัติการณ์แผลกดทับได้ ในวันแรกที่เข้ารับการรักษาพบผู้ป่วยมีแผลกดทับ 30 เปอร์เซ็นต์ และในวันจำหน่ายพบผู้ป่วยมีแผลกดทับ 23.3% (p < 0.001) คะแนนเฉลี่ยความบ่อยในการปฏิบัติกิจกรรมการป้องกันแผลกดทับของผู้ดูแลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และพบว่าปัจจัยด้านผู้ป่วยได้แก่ เพศ อายุ การได้รับยา และระดับความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ รวมทั้งปัจจัยด้านผู้ดูแลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ด้านการดูแล ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์แผลกดทับข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรจัดทำแผนการจำหน่ายเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง แนวทางการให้ความรู้ในการป้องกันแผลกดทับแก่ผู้ดูแลควรเป็นความรู้พื้นฐานที่ปฏิบัติเป็นประจำตามปกติ

URL
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมินผลของแผนการจำหน่ายต่ออุบัติการณ์แผลกดทับ 2) ความบ่อยในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยของผู้ดูแล 3) ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ป่วยได้แก่ เพศ อายุ การได้รับยา ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับกับอุบัติการณ์แผลกดทับ 4) ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ดูแลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ด้านการดูแล ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยกับอุบัติการณ์แผลกดทับ
 
    พิมพ์หน้านี้