รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2213
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 15/5/2554
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนางานนิเทศทางการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ กลุ่มการพยาบาล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ประเทศไทย พ.ศ.2548
ชื่อเรื่องอังกฤษ NURSING SUPERVISORY DEVELOPMENT OF AFTER HOUR NURSE SUPERVISORS, NURSING DIVISION, NATIONAL CANCER INSTITUTE, DEPARTMENT OF MEDICAL SERVICES, THAILAND, 2005
ชื่อผู้วิจัยหลัก อลิสา ช่วงอรุณ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สมชาติ โตรักษา
พีระ ครึกครื้นจิตร
วงเดือน เอี่ยมสกุล
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2548
บทคัดย่อ

งานนิเทศทางการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ  เป็นงานที่ช่วยสนับสนุน  และส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลที่ให้แก่ผู้ป่วยโดยตรง ถือเป็นการปฏิบัติการพยาบาลทางอ้อม   โดยทำหน้าที่ช่วยชี้แนะ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ปฏิบัติให้เข้าใจถึงวิธีการทำงานที่ถูกต้อง และช่วยแก้ปัญหาให้ทันต่อเหตุการณ์เพื่อให้ได้ผลงานตามความมุ่งหมายทางการพยาบาลและตามมาตรฐานที่กำหนดไว้  การวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลองนี้  ได้นำหลักวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้  ในการสร้างรูปแบบใหม่ของการดำเนินงานนิเทศทางการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับพื้นที่ทดลองคือ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐ ระดับตติยภูมิ ขนาด 200 เตียง ในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 30 มิถุนายน 2548 เป็นเวลา 4 เดือน เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างก่อนกับหลังการนำรูปแบบใหม่ไปดำเนินการ ด้วยค่าสถิติพรรณนา ค่าสถิติไคสแควร์ ค่าสถิติวิลค็อกซัน และค่าสถิติที ที่ระดับแอลฟา = 0.05.

          ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง อัตราความครบถ้วนของการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ และเอกสารประจำเวร เพิ่มขึ้น (p < 0.001) อัตราความครบถ้วนการปฏิบัติตามขั้นตอนการนิเทศ เพิ่มขึ้น (p <  0.001 ) อัตราความถูกต้องของการปฏิบัติการนิเทศ  เพิ่มขึ้น  (p  <  0.001)  ระยะเวลาที่ใช้ในการนิเทศเวรเช้า  (08.00-16.00 น.) และเวรบ่าย (16.00-08.00 น.) เพิ่มขึ้น (p = 0.013 และ  p  <  0.001) แรงงานที่ใช้ในการนิเทศ  เพิ่มขึ้น (p < 0.001) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม เพิ่มขึ้น (p < 0.001) ค่าใช้จ่ายในการนิเทศ เพิ่มขึ้นทั้งในเวรเช้าและ

เวรบ่าย   (p = 0.013 และ p < 0.001).

สรุปได้ว่ารูปแบบใหม่ของการดำเนินงานนิเทศทางการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสมกับกลุ่มการพยาบาล  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ  เนื่องจากมีระบบงานที่ชัดเจน  มีวิธีนำรูปแบบไปดำเนินการที่ดีเป็นที่ยอมรับจากผู้นิเทศ  มีแนวทางการนิเทศที่ง่ายต่อการปฏิบัติตาม  มีการเตรียมผู้ที่เกี่ยวข้องที่ดี  มีการพัฒนารูปแบบขณะดำเนินการเป็นระยะๆ  ด้วยความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฏิบัติงาน  ตลอดจนมีการติดตามประเมินผลที่ดีในขณะดำเนินการ ได้เสนอแนะให้ดำเนินการตามรูปแบบใหม่นี้ต่อไปอีกอย่างน้อย  1  ปี    โดยติดตามประเมินผลและพัฒนาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้การดำเนินงาน

นิเทศทางการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีประสิทธิภาพสูงยิ่งๆขึ้นไป  รวมทั้งได้เสนอแนะแนวทางการนำสิ่งที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้และขยายผลต่อไปอย่างกว้างขวาง  ทั้งในสถาบันมะเร็งแห่งชาติและศูนย์มะเร็งภูมิภาคทุกแห่ง

URL
วัตถุประสงค์

การพัฒนางานนิเทศทางการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ  กลุ่มการพยาบาล  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ  กรมการแพทย์  ประเทศไทย  พ.ศ.2548

 
    พิมพ์หน้านี้