รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2215
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 17/5/2554
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี
ชื่อเรื่องอังกฤษ THE DEVELOPMENT OF CPR NURSES. RECORD IN EMERGENCY DEPARTMENT RAMATHIBODI HOSPITAL
ชื่อผู้วิจัยหลัก ศุลีพร พิทยานนท์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สุคนธา คงศีล
สมชาติ โตรักษา
ดนุลดา จามจุรี
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2546
บทคัดย่อ

การศึกษาการพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต หน่วยช่วยฉุกเฉินระยะวิกฤต แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดีทางด้านความรวดเร็วในการบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตภายหลังสิ้นสุดการช่วยฟื้นชีวิต คุณภาพการบันทึก และความพึงพอใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อแบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตในรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ไม่มีกลุ่มควบคุมวัดครั้งเดียวหลังการทดลอง สิ่งทดลองได้แก่แบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต (CPR Nurses. Record) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ได้รับการช่วยฟื้นชีวิต (CPR) และใส่ท่อช่วยหายใจ (ON ET-tube) เท่านั้น พื้นที่ดำเนินการทดลองคือห้องกู้ชีพ หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 2 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จากพยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องกูชีพ หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 20 คน และการตรวจสอบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลจากแบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตแบบใหม่จำนวน 10 ฉบับ ฉบับละ 81 รายการ วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลโดยสถิติแบบบรรยายด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยความรวดเร็วในการบันทึกโดยสถิติ Manwithny U-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการดำเนินการทดลองพบว่าความรวดเร็วในการบันทึกทางการพยาบาลภายหลังสิ้นสุดการช่วยฟื้นคืนชีพลดลง เป็นผลให้พยาบาลในห้องกู้ชีพมีเวลาในการให้การพยาบาลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ไม่ต้องจัดเจ้าหน้าที่หมุนเวียนเข้ามาช่วยในห้องกู้ชีพ ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากพยาบาลห้องกู้ชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการช่วยฟื้นชีวิตโดยตรง และสามารถประเมินคุณภาพการช่วยฟื้นชีวิตของทีม CPR เพื่อเป็นการสอดคล้องกับนโยบายในการพัฒนาคุณภาพ ความพึงพอใจที่มีต่อแบบบันทึกทางการพยาบาลแบบใหม่ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาก โดยที่คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจด้านโครงสร้างของแบบบันทึกมีค่าสูงสุด (X = 3.95, S.D = 0.39) ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจด้านความเป็นระเบียบของข้อมูลและเวลาที่ใช้ในการบันทึกมีค่าน้อยและน้อยที่สุดตามลำดับ

( X = 3.55, S.D. = 0.47 และ X = 3.52, S.D. = 0.59) ด้านคุณภาพการบันทึกถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ได้ใจความ พบว่าค่าเฉลี่ยร้อยละคะแนนรวม คุณภาพการบันทึกการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต แต่ละข้อรายการที่ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในเกณฑ์พอใช้ (74.09 ฑ 18.25) และค่าเฉลี่ยร้อยละคุณภาพการบันทึก การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต จำ แนก ตามรายการบันทึกข้อมูลหน่วยงานที่ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลในแต่ละฉบับอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (90.04 ฑ 15.22) และพบว่ามีข้อมูลที่ได้รับการปฏิบัติพยาบาลแต่ไม่ได้รับการบันทึกร้อยละ 22.66

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับความสำคัญ ความเป็นมา และวิธีการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนฝึกทักษะในการคิดและบันทึกโดยใช้กระบวนการพยาบาลอย่างต่อเนื่องกระทั่งมีความเข้าใจสามารถปฏิบัติได้

URL
วัตถุประสงค์ พัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต หน่วยช่วยฉุกเฉินระยะวิกฤต แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดีทางด้านความรวดเร็วในการบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตภายหลังสิ้นสุดการช่วยฟื้นชีวิต คุณภาพการบันทึก และความพึงพอใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อแบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต
 
    พิมพ์หน้านี้